Sunday, July 24, 2011

โรคพาร์กินสัน Parkinson การทำงานของสมอง Tel: 020 22228597


การทำงานของสมอง
  • สมองส่วนหน้าหรือ forebrain ส่วนนี้จะทำหน้าที่คิด จำ การควบคุมการเดิน อารมณ์ ความรู้สึก ทั้งหมดจะอยู่ที่สมองส่วนหน้า
  • สมองน้อยหรือ cerebellum จะทำหน้าที่ประสานงานให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
  • เนื้อสมองส่วน 3,4 เป็นส่วนที่ทำกล้ามเนื้อทำงานประสานกัน เช่นเมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งหดตัว กลุ่มตรงข้ามก็จะคลายตัว
โรคพาร์กินสันจะมีปัญหาการเสื่อมของสมองส่วนนี้ทำให้การสร้างสาร dopamine น้อยลงโรคพาร์กินสันเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วย
  • อาการสั่นTremor โดยมากสั่นที่มือ แขน ขา กราม หน้า
  • อาการเกร็ง Rigidity จะมีอาการเกร็งของแขนและลำตัว
  • การเคลื่อนไหวช้าหรือที่เรียกว่า Bradykinesia ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลง
  • การทรงตัวเสีย Postural instability
  • ผู้ป่วยมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติ เช่นการยิ้ม การกระพริบตา การแกว่งแขน
  • พูดลำบาก พูดช้าพูดลำบาก เสียงเบาไม่มีเสียงสูงหรือต่ำ
  • กลืนลำบาก
               โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเดินลำบาก พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยตัวเองได้
เซลล์สมอง[ neurone ]ในส่วนที่เรียกว่า substantia nigra จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า dopamine สารนี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า corpus striatum ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้อย่างดี หากเซลล์สมองส่วนนี้ไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้อย่างเพียงพอการทำงาน ของกล้ามเนื้อจะไม่ประสานงานกัน มือจะกระตุก ไม่สามารถทำงานที่ต้องประสานงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด สำสาเหตุที่ทำให้เซลล์เหล่านี้ตายก่อนวัยอันควรยังไม่ทราบ แต่เท่าที่สันนิฐานได้คือ
  • พันธุ์กรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นจะมีความเสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า หกมีสองคนความเสี่ยงเพิ่มเป็น 10 เท่า
  • อนุมูลอิสระ Free radicle จะทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้
  • มีสารพิษหรือ Toxin ซึ่งอาจจะได้รับจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมเช่น ยาฆ่าแมลง ทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้ carbon monoxide, alcohol, and mercury
  • พันธุกรรมโดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ15-20 มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการกลายพันธ์( mutation )ของโครโมโซมคู่ที่ 4 และ6ก็ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
  • เซลล์แก่ไวเกินไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
               นักวิจัยเชื่อการเกิดโรคนี้ต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกันเริ่มแรกของโรคพาร์กินสันเป็นอย่างไร
เนื่องจากโรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบ บางคนอาจจะมีอาการปวดตามตัว เพลีย สั่นหรือลุกยาก ส่วนใหญ่มักจะวินิจฉัยได้จากการสังเกตของคนใกล้ชิดว่ามีอาการผิดปกติเช่น ใบหน้าไม่ยิ้ม มือสั่น เคลื่อนไหวของมือหรือแขนน้อย
อาการของโรคพาร์กินสัน
เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยก็จะเกิดอาการชัดเจนขึ้น อาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันอาการที่สำคัญได้แก่
  • อาการสั่น Tremor อาการสั่นของผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะมีการสั่นไปมาไของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นประมาณ 3 ครั้งต่อวินาที คนที่ช่างสังเกตบอกอาการสั่นเหมือนกับคนกำลังปั้นเม็ดยา pill rolling โดยมากอาการสันมักจะเกิดที่มือ แต่ก็มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดที่เท้า หรือกราม อาการสั่นจะเป็นขณะพัก จะเป็นมากเมื่อเกิดอาการเครียด อาการสั่นจะหายไปเมื่อเวลานอนหลับ หรือเมื่อเรากำลังใช้งาน อาการสั่นจะเป็นข้างหนึ่งก่อน เมื่อโรคเป็นมากจึงจะเป็นทั้งตัว
  • อาการเกร็ง Rigidity คนปกติเมื่อเวลาเคลื่อนไหวจะมีกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง และกล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะมีการคลายตัว โรคพาร์กินสันกล้ามเนื้อไม่มีการคลายตัวจึงทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วย ความลำบาก หากเราจับมือผู้ป่วยเคลื่อนไหวจะมีแรงต้านเป็นระยะเหมือนกับมีดสปริง cogwheel rigidity
  • อาการเคลื่อนไหวช้า Bradykinesia ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวช้าและลำบาก งานประจำที่สามารถทำเองได้แต่ต้องใช้เวลามาก
  • สูญเสียการทรงตัว Postural instability ผู้ป่วยจะเดินหน้าถอยหลัง เวลาเดินจะเดินก้าวเล็กซอยถี่ๆ ทำให้หกล้มได้ง่าย
อาการอื่นของโรคพาร์กินสัน
  • ซึมเศร้า Depression
  • อารมณ์แปรปรวนเนื่องจาก
  • เคียวอาหารและกลืนอาหารลำบาก เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนทำงานไม่ประสานงานกัน
  • มีปัญหาในการพูด พูดเสียงจะเบาไม่ค่อยมีเสียงสูงหรือต่ำ พูดติดอ่าง บางที่ก็พูดเร็ว
  • มีปัญหาเรื่องท้องผูก
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • เนื่องจากผู้ป่วยไม่ค่อยได้ล้างหน้า ผิวหน้าจะมันและมีรังแค
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หลับยาก ฝันร้าย


ສົນໃຈຜະລິດຕະພັນ ໝໍເສັງ ຈັດສົ່ງທົ່ວປະເທດ  WWW.morsenglao.blogspot.com
ໂທ:020 56999579; 77555579 Kham Phat

No comments:

Post a Comment