Sunday, April 29, 2012

เอดส์ คืออะไร ; โรคกรดไหลย้อน


เอดส์ หรือ AIDS (Acquired Immune Deficiency Syndrome) เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือกขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต
เอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไร
1. การร่วมเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ได้แก่ การมีแผลเปิด และจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ประมาณร้อยละ 84 ของผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

2. การรับเชื้อทางเลือด
- ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด และหากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อเอดส์ ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกทางหนึ่ง
- รับเลือดในขณะผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวด ต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ และจะปลอดภัยเกือบ 100%
3. ทารก ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ หากตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการดูแลอย่างดี เชื้อเอช ไอ วี จะแพร่ไปยังลูกได้ ในอัตราร้อยละ 30 จากกรณีเกิดจากแม่ติดเชื้อ จึงมีโอกาสที่จะรับเชื้อเอช ไอ วี จากแม่ได้

เอดส์ มีอาการอย่างไร
คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกายม่จ ำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไปขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัสจำนวนและความ ดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกายถ้ามีการ ติดเชื้ออาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลยเพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้น เคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือดหรือที่เรียกว่าเลือดเอดส์บวกซึ่งแสดงว่ามีการ ติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้วร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมา ทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody)เป็นเครื่องแสดงว่า เคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้วแต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คน ที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน6เดือนโดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุง ยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและห้ามบริจาคโลหิตให้ใครใน ระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้โดยโตอยู่เป็น ระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคน ปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5) จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้วผู้ป่วยจะมีอาการของการติด เชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อยๆและเป็นมะเร็งบางชนิดเช่นแคโปซี่ซาร์โคมา (Kaposi'ssarcoma)และมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อฉกฉวยโอกาสหมายถึงการติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคใน คนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลงเช่นจากการเป็นมะเร็งหรือจากการได้รับ ยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอดต่อมน้ำเหลืองตับหรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจ มีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรค เอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิต คนไข้ออกไปได้10 - 20 ปีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้ อาการของเอดส์ มี 2 ระยะ
1. ระยะไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ และบางคนไม่ทราบว่า ตัวเองติดเชื้อ จึงอาจแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
2. ระยะมีอาการ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการ ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 7-8 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- ระยะเริ่มปรากฎอาการ อาการที่พบคือ มีเชื้อราในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต งูสวัด มีไข้ ท้องเสีย น้ำหนักลด มีตุ่มคันบริเวณผิวหนัง
- ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะที่มีภูมิต้านทานลดลงมาก ทำให้ติดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ป้องกันตัวเอง ไม่ให้ติดเชื้อเอดส์ ได้อย่างไร
รักเดียว ใจเดียว หากจะมีเพศสัมพันธ์กับหญิง ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
ขอรับบริการปรึกษา เรื่อง โรคเอดส์ ก่อนแต่งงาน และก่อนที่จะมีบุตรทุกท้อง
ไม่ดื่มเหล้า และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด

เอดส์ รู้ได้อย่างไรว่า ติดแล้ว
เนื่องจากโรคนี้แสดงอาการช้า แต่สามารถทราบได้ โดยการตรวจเลือด หากต้องการผลที่แม่นยำ ควรตรวจภายหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยง 6 สัปดาห์ขึ้นไป เอดส์ รักษาได้หรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายได้ ยาที่ใช้ปัจจุบันจะช่วยยับยั้ง ไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในร่างกายผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์จะมีสุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ เอดส์ ใครบ้างที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์
- ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
- ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่ หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
- ผู้ที่สงสัยว่า คู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
- ผู้ที่คิดจะมีบุตร ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก
- ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัย และสุขภาพของร่างกาย เช่น ผู้ที่ต้องไปทำงานในต่างประเทศ (บางประเทศ) เอดส์ เราอยู่ร่วมกันได้
คนที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี สามารถอยู่ร่วมกับสังคม และครอบครัวได้ และทำงานได้เหมือนกับคนทั่วไป เพราะเชื้อเอช ไอ วี ไม่ได้ติดต่อกันโดย การสัมผัส การกอดจูบ การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การใช้ของร่วมกัน การอยู่ใกล้กัน การสนทนากัน หรือถูกยุงกัด ดังนั้น จึงไม่ต้องแยกวงรับประทานอาหาร ไม่ต้องแยกห้องนอน ห้องน้ำ อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ หรือห้องทำงาน บริการปรึกษา ปัญหาสุขภาพ

โรคเอดส์ AIDS โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่อันตราย

ถุงยางอนามัย โรคเอดส์
โรคเอดส์

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก aidsthai.org , thaiall.com

          ต้องยอมรับว่า หนึ่งในโรคติดต่อที่คนรู้จักความน่ากลัวของมันเป็นอย่างดี ก็คือ " โรคเอดส์ " และรู้กันดีว่า " โรคเอดส์ " เป็นโรคร้ายแรงที่ยังไม่มีตัวยาใดมารักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังพบผู้ติดเชื้อ เอดส์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นจึงทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดเอาวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเป็น วันเอดส์โลก เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายจาก โรคเอดส์ นั่นเอง และวันนี้กระปุกดอทคอม ก็ได้นำความรู้เกี่ยวกับเรื่อง โรคเอดส์ มาบอกต่อกัน ด้วยค่ะ
โรคเอดส์ คืออะไร

          โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus :HIV) หรือเรียกย่อๆ ว่า เชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้ม กันโรค ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้อีก โรคต่างๆ (หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า โรคฉวยโอกาส) จึงเข้ามาซ้ำเติมได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

สายพันธุ์ของ โรคเอดส์
          เชื้อไวรัสเอดส์มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักดั้งเดิมคือ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกากลาง, เอชไอวี-2 (HIV-2) พบแพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์อื่นๆ ที่กลายพันธุ์มาอีกมากมาย

          ในปัจจุบันทั่วโลก พบสายพันธุ์เชื้อเอชไอวี มากกว่า 10 สายพันธุ์  กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยพบมากที่สุดที่ทวีปแอฟริกามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นแหล่งแรกที่พบเชื้อเอชไอวี และกระจายอยู่เป็นเวลานานกว่า 70 ปี สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือในโลก คือสายพันธุ์ซี มากถึง 40% พบในทวีปแอฟริกา อินเดีย จีน รวมทั้งพม่า ส่วนในประเทศไทยพบเชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์เอ-อี (A/E) หรืออี (E) พบมากกว่า 95% แพร่ระบาดระหว่างคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่แพร่ระบาดกันในกลุ่มรักร่วมเพศ และผ่านการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น 



          ขณะที่สายพันธุ์ซีเดี่ยวๆ ยังไม่พบในประเทศไทย พบเพียงแต่สายพันธุ์อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย และสายพันธุ์ซีจากทวีปแอฟริกา และล่าสุดยังได้พบหญิงไทยติดเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยตรวจพบมา ก่อนในโลก คือ เชื้อเอชไอวีผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ เอ จี และดี เรียกว่า เอจี-ดี (AG/D) และยังพบเชื้อเอชไอวีผสม 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ อี และจี เรียกว่า เออี-จี (AE/G)

โรคเอดส์ ติดต่อได้อย่างไร
โรคเอดส์ สามารถติดต่อได้ 3 ทาง คือ

           1.การ ร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย ทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิง จะเป็นช่องทางธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติก็ตาม ล้วนมีโอกาสเสี่ยงต่อการติด โรคเอดส์ ทั้งนั้น ซึ่งมีข้อมูลจากกองระบาดวิทยาระบุว่า ร้อยละ 83 ของผู้ติดเชื้อเอดส์ รับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์

           2.การรับเชื้อทางเลือด โอกาสติดเชื้อ เอดส์ พบได้ 2 กรณี คือ

          - ใช้เข็มฉีดยา หรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับผู้ติดเชื้อ เอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น

          - รับเลือดมาจากการผ่าตัด หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด แต่ปัจจุบันเลือดที่ได้รับการบริจาคมา จะถูกนำไปตรวจหาเชื้อเอดส์ก่อน จึงมีความปลอดภัยเกือบ 100%

           3.ติดต่อ ผ่านทางแม่สู่ลูก เกิดจากแม่ที่มีเชื้อเอดส์และถ่ายทอดให้ทารก ในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และภายหลังคลอด ปัจจุบันมีวิธีป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก โดยการทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์ จะสามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์เหลือเพียงร้อยละ 8 แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจเลือดก่อนแต่งงาน

          นอกจากนี้ โรคเอดส์ ยังสามารถติดต่อผ่านทางอื่นได้ แต่โอกาสมีน้อยมาก เช่น การใช้ของมีคมร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ทำความสะอาด, การเจาะหูโดยการใช้เข็มเจาะหูร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์,การสักผิวหนัง หรือสักคิ้ว เป็นต้น ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นการติดต่อโดยการสัมผัสกับเลือด หรือน้ำเหลืองโดยตรง แต่โอกาสติด โรคเอดส์ ด้วยวิธีนี้ต้องมีแผลเปิด และปริมาณเลือดหรือน้ำเหลืองที่เข้าไปในร่างกายต้องมีจำนวนมาก

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์ มีหลายประการ คือ

           1.ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอดส์มาก โอกาสติด โรคเอดส์ ก็จะสูงขึ้นไปด้วย โดยเชื้อเอดส์ จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด

           2.หากมีบาดแผล จะทำให้เชื้อเอดส์เข้าสู่บาดแผล และทำให้ติด โรคเอดส์ ได้ง่ายขึ้น

           3.จำนวนครั้งของการสัมผัส หากสัมผัสเชื้อโรคบ่อย ก็มีโอกาสจะติดเชื้อมากขึ้นไปด้วย

           4.การ ติดเชื้ออื่นๆ เช่น แผลริมอ่อน แผลเริม ทำให้มีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่แผลจำนวนมาก จึงรับเชื้อเอดส์ได้ง่าย และเป็นหนทางให้เชื้อเอดส์เข้าสู่แผลได้เร็วขึ้น

           5.สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ในขณะนั้น ก็ย่อมมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้ง่ายขึ้น

โรคเอดส์ มีกี่ระยะ

เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว จะแบ่งช่วงอาการออกเป็น 3 ระยะ คือ

           1.ระยะไม่ปรากฎอาการ (Asymptomatic stage) หรือระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ออกมา จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ แต่อาจจะเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ จากระยะแรกเข้าสู่ระยะต่อไปโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี แต่บางคนอาจไม่มีอาการนานถึง 10 ปี จึงทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับบุคคลอื่นได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ

           2.ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) หรือระยะเริ่มปรากฎอาการ (Symptomatic HIV Infection) ในระยะนี้จะตรวจพบผลเลือดบวก และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในเห็น เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน, มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก, เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม และมีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด เป็นต้น ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะกลายเป็นเอดส์ระยะเต็มขึ้นต่อไป

           3.ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือ ระยะ โรคเอดส์ ในระยะนี้ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายลงไปมาก ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย หรือที่เรียกว่า "โรคติดเชื้อฉวยโอกาส" ซึ่งมีหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย หากเป็นวัณโรคที่ปอด จะมีอาการไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นโรคเอดส์ของระบบประสาทก็จะมีอาการความจำเสื่อม ซึมเศร้า แขนขาอ่อนแรงเป็นต้น ส่วนใหญ่เมื่อผู้เป็นเอดส์เข้าสู่ระยะสุดท้ายนี้แล้วโดยทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ ได้เพียง 1-2 ปี

ใครที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์

           ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
           ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
           ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
           ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก
           ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของร่างกาย เช่น ผู้ที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ (บางประเทศ)

          หาก สงสัยว่า รับเชื้อเอดส์มา ไม่ควรไปตรวจเลือดทันที เพราะเลือดจะยังไม่แสดงผลเป็นบวก ควรตรวจภายหลังจากสัมผัสเชื้อแล้ว 4 สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะได้ผลที่แม่นยำ

การป้องกัน โรคเอดส์

เราสามารถป้องกัน โรคเอดส์ ได้ โดย

           1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
           2. รักเดียว ใจเดียว
           3. ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาเรื่อง โรคเอดส์ จากแพทย์ก่อน
           4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด





ถุงยางอนามัย ป้องกัน โรคเอดส์ ได้แค่ไหน

          ถุงยางอนามัย สามารถป้องกัน โรคเอดส์ ได้แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ถุงยางมีคุณภาพดีพอหรือไม่ หมดอายุการใช้งานหรือยัง โดยปกติให้ดูจากวันผลิตไม่เกิน 3 ปี หรือดูวันหมดอายุที่ซอง ซองต้องไม่ชำรุด หรือฉีกขาด นอกจากนี้ต้องเลือกขนาดใช้ให้เหมาะสม ถ้าขนาดไม่พอดี ก็อาจฉีดขาด หรือหลุดออกง่าย ซึ่งจะไม่สามารถป้องกัน โรคเอดส์ อย่างได้ผล

วิธีใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง



          1.หลังจากตรวจสอบว่า ถุงยางอนามัยไม่หมดอายุ ซองไม่มีรอยฉีกขาด ฉีกมุมซองโดยระมัดระวัง ไม่ให้เล็บมือเกี่ยวถุงยางอนามัยขาด



          2.ใช้ถุงยางอนามัยในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัว บีบปลายถุงยาง เพื่อไล่อากาศ

ถุงยางอนามัย โรคเอดส์


          3.รูดถุงยางอนามัย โดยให้ม้วนขอบอยู่ด้านนอก
ถุงยางอนามัย โรคเอดส์


          4.สวมถุงยางอนามัย แล้วรูดให้ขอบถุงยางอนามัย ถึงโคนอวัยวะเพศ
ถุงยางอนามัย โรคเอดส์

          5.หลังเสร็จกิจ ควรรีบถอดถุงยางอนามัย ในขณะที่อวัยวะเพศยังแข็งตัว โดยใช้กระดาษชำระหุ้มถุงยางอนามัยก่อนที่จะถอด หากไม่มีกระดาษชำระต้องระวัง ไม่ให้มือสัมผัสกับด้านนอกของถุงยาง ควรสันนิษฐานว่า ด้านนอกของถุงยาง อาจจะปนเปื้อนเชื้อเอดส์แล้ว

ถุงยางอนามัย โรคเอดส์

          6.ทิ้งถุงยางอนามัยที่ใช้แล้ว ลงในภาชนะรองรับ เช่น ถังขยะ



วิธีใช้ถุงยางอนามัย เพศหญิง

          ใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วกลางจับขอบห่วงถุงยางให้ถนัดแล้วบีบขอบห่วง ในให้ห่อตัวเล็กลง นั่งท่าที่เหมาะสม เช่น นั่งยองๆ หรือยกขาข้างใดข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้แล้วค่อยๆ สอดห่วงถุงยางที่บีบไว้เข้าไปในช่องคลอด ดันให้ลึกที่สุด ใช้นิ้วสอดเข้าไปในถุงยางจนนิ้วสัมผัสกับขอบล่างของห่วงด้านใน แล้วจึงดันขอบห่วงถุงยางลึกเข้าไปในช่องคลอด ให้ถึงส่วนบนของเชิงกระดูกหัวเหน่า ด้วยการงอนิ้วไปทางด้านหน้าของตัวคุณให้ลึกเข้าไปในปากช่องคลอดประมาณ 2-3 นิ้ว  วิธีถอดถุงยางให้หมุนบิดปิดปากถุง เพื่อให้น้ำอสุจิคงอยู่ภายในถุงยาง แล้วจึงค่อยๆ ดึงออก 

โรคเอดส์ รักษาได้หรือไม่

          ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ

           1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์

           2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV

           3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV

          หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

ข้อควรปฏิบัติหากได้รับเชื้อเอดส์

          ผู้ที่เป็น โรคเอดส์ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และควรดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ควรวิตกกังวล เพราะหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะสามารถมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี โดยมีข้อปฏิบัติคือ

           1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

           2.รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

           3.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับเชื้อ หรือแพร่เชื้อเอดส์

           4.งดการบริจาคเลือด อวัยวะ และงดใช้สิ่งเสพติดทุกชนิด

           5. หากเป็นหญิง ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ถึง 30%

           6. ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด ไม่กังวล รวมทั้งอาจฝึกสมาธิ

           7.อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับ โรคเอดส์
          จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุชัดว่า เชื้อเอชไอวีไม่สามารถแพร่สู่กันได้โดยการติดต่อในชีวิตประจำวันกับผู้ติด เชื้อเอชไอวี และไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการกอด การสัมผัสมือที่เป็นการทักทายแบบชาวตะวันตก หรือการปฏิสัมพันธ์ภายนอกอื่น เช่น การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้เตียงนอนร่วมกัน การใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารหรือรถแท็กซี่ร่วมกัน

          นอกจากนี้ เอชไอวีไม่ใช่โรคติดต่อทางอากาศเหมือนกับไข้หวัด และไม่ติดต่อผ่านทางแมลง หรือ ยุง โดยทั่วไปแล้วเชื้อเอชไอวีติดต่อกันผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีติดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน การแลกเปลี่ยนของเหลวในร่างกาย เช่น อสุจิ เลือด หรือของเหลวในช่องคลอด นอกจากนี้เชื้อเอชไอวียังสามารถติดต่อผ่านทางการใช้เข็ม หรืออุปกรณ์ฉีดยาร่วมกันของผู้ใช้ยาเสพติด ขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถแพร่เชื้อไปสู่ลูกได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่
- กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 
- สถานบริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

โรคกรดไหลย้อน


โครงสร้างของกระเพาะอาหาร
เมื่อ เรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหารจะถูกบีบไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารจะมีหูรูดหรือที่เรียกว่า Sphincter ทำให้ที่ปิดมิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะจะมีกรดออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้วจะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร
คือภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหารทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือแสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว

สาเหตุของกรดไหลย้อน
* Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
* ดื่มสุรา
* อ้วน
* ตั้งครรภ์
* สูบบุหรี่
* อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด
* ช้อกโกแลต
* อาหารมัน ของทอด
* หอมกระเทียม
* มะเขือเทศ
อาการของกรดไหลย้อน
อาการทางหลอดอาหาร
* อาการปวดเสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้
* รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
* กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
* เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
* รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
* มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคอตลอดเวลา
* เรอบ่อย คลื่นไส้
* รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย

อาการทางกล่องเสียง และปอด
* เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
* ไอเรื้อรัง
* ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน
* กระแอมไอบ่อย
* อาการหอบหืดแย่ลง
* เจ็บหน้าอก
* เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ
การรักษา
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
* ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
* งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
* ใส่เสื้อหลวมๆ
* ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
* งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
* งออาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช้อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
* รับประทานอาหารพออิ่ม
* หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอักลม เบียร์ สุรา
* นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง
การรักษาด้วยยา
* Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
* ใช้ ยา proton pump inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดีอาจจะใช้เวลารักษา1-3 เดือน เทื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ก็อาจจะลดยาลงได้ยาที่นิยมใช้ได้แก่ omeprazole , lansoprazole , pantoprazole , rabeprazole, และ esomeprazole
* หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C
หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรจะต้องตรวจเพิ่มเติมได้แก่
* การกลืนแป้งตรวจกระเพาะ
* การส่องกล้องตรวจกระเพาะ
การรักษาโดยการผ่าตัด
จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
โรคแทรกซ้อน
* หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล และมีเลือดออด หรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก
* อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง เช่นโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ

No comments:

Post a Comment