ปัญหาชายวัยทอง
ปัญหาของชายวัยทองเรามักจะได้ยินคำว่าวัยทอง ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนmenopause สำหรับผู้ชายเมื่ออายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนที่สร้างก็น้อยลงมักจะเริ่มเมื่อ อายุ 40 ปี andropause ซึ่งการขาดฮอร์โมนจะดำเนินไปอย่างช้าๆจนเหลือประมาณร้อยละ 10 ของวัยรุ่นบางคนอาจจเรียกว่า male climacteric, viropause
ฮอร์โมนเพศชาย
โดยทั่วๆไประดับฮอร์โมนเพศชายในผู้สูงอายุจะน้อยกว่าคนที่อายุน้อย ฮอร์โมนจะเริ่มลดลงเมื่อายุ 30 ปีและจะค่อยๆลดลง การลดลงของฮอร์โมนเพศชายจะไม่เหมือนเพศหญิงเมื่อถึงวัยทองจะไม่มีฮอร์โมน estrogen และเป็นทุกคน แต่สำหรับผู้ชายที่สูงอายุยังมีฮอร์โมนอยู่บ้าง ผู้ชายส่วนใหญ่ยังสามารถสร้างฮอร์โมนได้จนอายุ 70 ปีพบว่าร้อยละ5ที่มีฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ การให้ฮอร์โมนทดแทนเพศชายก็มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ
- ทำให้ต่อมลูกหมากโต
- ทำให้บดบังอาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่ม
- ทำให้เกิด sleep apnea
ฮอร์โมนนี้สร้างที่อัณฑะ(testis) และต่อมหมวกไต{adrenal gland}บทบาทสำคัญคือสร้างให้ร่างกายเหมือนผู้ชาย คือจะสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ทำให้มีความรู้สึกทางเพศและอารมณ์ดี ทำให้อวัยวะเพศแข็ง ช่วยสร้างเม็ดโลหิต ทำให้กระดูกแข็งแรง
อาการของผู้ชายที่ขาดฮอร์โมน
ฮอร์โมน testosterone มีหน้าที่สร้างความเป็นผู้ชาย เช่นกล้ามเนื้อ หนวดเครา ความต้องการทางเพศ เมื่อขาดฮอร์โมนจะมีอาการที่ขาดฮอร์โมน testosterone ดังนี้
- หนวดเคราหยุดการเจริญ
- อ้วนหรือไขมันเพิ่ม
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
- ร้อนตามตัว
- อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย
- ไม่มีสมาธิ
- ซึมเศร้า
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- นมโตและเจ็บ
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
-
เป็นโรคกระดูกพรุนการวินิจฉัยเนื่อง
จากอาการไม่เฉพาะดังนั้นมักจะวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคคนแก่
การตรวจเลือดก็ยังไม่มีเกณฑ์แน่ชัดว่าเมื่อไรจึงจะขาดฮอร์โมน
ดังนั้นหากมีอาการเข้าได้กับภาวะที่มี testosteroneต่ำก็ให้สงสัยไว้ก่อนการรักษาการ
ให้ฮอร์โมน Testosterone
เพื่อทดแทนพบว่าได้ประโยชน์ในผู้ป่วยหลายรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับ
testosterone ต่ำพบว่าอาการที่ดีขึ้นได้แก่
- อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกมีชีวิตชีวา มองโรคในแง่ดี
- รู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลังในการทำงาน
- อาการหงุดหงิดโกรธง่ายหรืออารมณ์ซึมเศร้าลดลง
- นอนหลับดีขึ้น
- มีความรู้สึกทางเพศเพิ่มขึ้น และสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ดีขึ้น
- กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น
หากคุณมีโรค มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ห้ามใช้ฮอร์โมนนี้อย่างเด็ดขาด โรคต่างๆเหล่านี้ต้องระวัง
- โรคตับ
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- บวมเท้า
- ต่อมลูกหมากโต
- โรคไต
- โรคเบาหวาน
มารู้จักโรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา Diabetic retinopathy
โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา Diabetic retinopathy
โรค เบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นโรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่ควบคุมไม่อยู่ จะลุกลามไปที่ตา และจะทำให้เกิดอันตราย ตั้งแต่ตามัว เห็นภาพซ้อน มองภาพแคบลง ไปจนถึงมองไม่เห็นไปเลย อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นโดยเป็นผลมาจากจอประสาทตาเสื่อม
โรคตาที่เกิดจากเบาหวาน
1.เบาหวานขึ้นจอรับภาพ : เกิดจากการทำลายของเส้นเลือดที่เลี้ยง จอ รับภาพ เบาหวานขึ้นจอรับภาพพบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของตาบอดอันดับหนึ่ง เส้นเลือดที่เลี้ยงจอรับภาพจะบวม และรั่ว ทำให้จอรับภาพบวม และเกิดเส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอรับภาพ ทำให้มีเลือดออกในลูกตา เนื่องจากเส้นเลือดเหล่านี้เปราะและแตกง่าย
2.ต้อกระจก : เกิดจากเลนส์แก้วตาเปลี่ยนสภาพจากใสเป็นขุ่น โอกาสเกิดต้อกระจกของผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงกว่าตาคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 2 เท่า และต้อกระจกก็เป็นตั้งแต่อายุยังไม่มากด้วย ต้อกระจกเองจะทำให้คนไข้ตามัวมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นโรคที่รักษาได้ผลดีมากด้วยการผ่าตัด
3.ต้อหิน : เกิดจากความดันตาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำลายขั้วประสาทตา ทำให้ตาบอดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัว ต้อหินในคนไข้เบาหวาน ก็พบบ่อยกว่าคนที่ไม่เป็นหวาน 2 เท่า และยิ่งเป็นเบาหวานนานขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีอัตราเสียงต่อการเป็นต้อหินสูงขึ้น เช่นเดียวกับ โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพ ต้อหินเป็นโรคที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่งเพราะมักไม่มีอาการเตือน ต้องตรวจจึงจะทราบ แต่รักษาได้ด้วยยาหยอด หรือแสงเลเซอร์ หรือ ผ่าตัด
อาการ
1.ในระยะแรกของโรคผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติที่จอประสาทตาเสื่อมจะไม่ลุกลามเร็ว แต่จะค่อยๆ เป็น และไม่ค่อยมีอาการจนกว่าตาจะมัว
2.ต่อมาพบว่าการมองเห็นอาจปกติ หรือเริ่มมีอาการตามัวเนื่องจากจอประสาทตาบวม ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการตามัวโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน
3.ในรายที่เป็นมากขึ้นมีเส้นเลือดผิดปกติงอกมาก อาจจะแตกได้ง่าย จะเห็นเป็นจุดๆ หรือมองไม่เห็นเลยถ้าเลือดออกมามาก ระยะลุกลามของโรค พบว่าจอประสาทตาจะขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นจุดๆ เกิดหลอดเลือดขึ้นใหม่ หลอดเลือดที่เกิดขึ้นใหม่นี้ผนังจะบางและแตกง่าย หลอดเลือดที่แตกแล้วน้ำเหลืองจะออกที่จอประสาทตา และในน้ำวุ้นของลูกตา ทำให้เกิดอาการตามัวและมองไม่เห็น ถ้าเลือดออกมากและน้ำวุ้นที่เลือดอยู่นานก็จะเกิดพังผืด และดึงให้จอประสาทตาหลุดลอกได้ เป็นสาเหตุให้ตาบอดได้
4.ตาบอดจากเบาหวาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของประสาทตาทำให้มีเลือด น้ำเหลือง น้ำตา มาเกาะที่ประสาทตา ประสาทตาส่วนนั้นไม่สามารถจับภาพได้ เมื่อทิ้งไว้นานๆ ประสาทตาจะเสื่อมและมองไม่เห็น
การรักษา
1.ในระยะที่เบาหวานขึ้นจอตาไม่มาก จักษุแพทย์จะแนะนำให้ควบคุมโรคเบาหวานให้ดี และนัดมาดูเป็นระยะๆ สำหรับระยะที่มีเบาหวานขึ้นจอตามากจนถึงระดับหนึ่ง จำเป็นต้องฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตาเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของหลอดเลือด และในกรณีที่เข้าสู่ระยะท้ายๆ จักษุแพทย์จะใช้การผ่าตัด
2.จักษุแพทย์สามารถช่วยไม่ให้คนไข้เบาหวานตาบอดได้ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ ทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกติในจอรับภาพ ทั้งนี้การใช้แสงเลเซอร์ไม่สามารถช่วยให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับคืนได้ หลักการคือใช้เลเซอร์ฉายลงไปตรงเส้นเลือดงอกใหม่เพื่ออุดเส้นเลือดและฉายลง บนจอรับภาพทั่วไปเพื่อลดการเกิดเส้นเลือดใหม่ เพราะเส้นเลือดที่งอกใหม่มีผนังบางแตกง่าย และลดการเกิดจอประสาทตาลอก
3.การผ่าตัดน้ำวุ้นตา ในกรณีที่มีเส้นเลือดแตกและเลือดคั่งอยู่ในน้ำวุ้นตา ทำให้มองไม่เห็น ถ้าเลือดไม่สามารถดูดซึมเองได้หมด จะต้องผ่าตัดเอาออก เพื่อทำให้มองเห็นดีขึ้นและสามารถฉายเลเซอร์รักษาเบาหวานขึ้นตาได้
4.การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่มีเลือดออกในวุ้นตา และจอตาหลุดลอก โรคในระยะนี้ แม้จะได้รับการรักษาแล้ว แต่สายตาอาจจะไม่กลับมาดีดังเดิมได้
5.ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เจริญมากขึ้น มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาในระบบดิจิตอล ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วย แพทย์สามารถถ่ายภาพจอประสาทตาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตาและบันทึก ภาพออกมาได้ทันที ซึ่งช่วยในการเก็บข้อมูลและช่วยในการพิจารณาตัดสินให้การรักษาได้ทันที ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยในการป้องกันมิให้เกิดตาบอดหรือสายตาพิการ
ยาสมุนไพร บำรุงร่างกาย
บริการด่วน ใน นะคอน หลวงเวียงจัน
รับส่งสินค้าถึงมือท่าน..
สนใจติดต่อ 020-5996-2888บริการส่งถึงมือท่าน
หมดปัญหาของล่าช้า ของไม่ถึงมือ การหลอกลวง ของปอม