Thursday, August 18, 2011

การสร้างความสุขกาย อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ,10 เคล็ดลับบริหารเวลา ลดความเครียด,การคลายเครียดในภาวะปกต,บันได 5 ขั้น สู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่าและเป็นสุข,




Mr Kham Phat TEL: 85620 22228597 / 77555579
Email:morsenglao@hotmail.com 
 การสร้างความสุขกาย อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ

บอกร่างกายตัวเองว่า
  
ฉันจะไม่ทำอะไรเกินกำลังที่ร่างกายจะรับได้
ฉันจะถนอมร่างกาย ให้แข็งแรงมีสุขภาพดี ไม่ทำร้าย ด้วยการเอาพิษภัยต่างๆ มาใส่ตัว
ฉันจะดูแลรักษาความเจ็บไข้ ที่เป็นอยู่ตามสมควร ไม่ปล่อยปละละเลย แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
อารมณ์
มีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่บิดเบือนหรือเก็บกด พยายามหาทางออก ให้เหมาะสมตามกาลเทศะ
หาจุดดีๆ ในตัวเองให้พบ แม้ดูจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ชื่นชมกับสิ่งที่เป็น คุณค่าของตนเองนั้น
ถ้าเห็นว่าเหลือบ่ากว่าแรง ที่จะดูแลตัวเองได้ ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนฝูงที่ไว้วางใจ หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
สังคม
เปิดตัวเอง ให้มีกิจกรรมร่วมกับคนอื่น อย่าคิดว่าฉันอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่แคร์ใคร เพราะนั่นเป็นการคิดที่ผิด และจะนำไปสู่ปัญหาทางจิตได้
รู้จักการให้และรับ รู้จักการแพ้ และชนะ ไม่เอาแต่ใจตัวเองเป็นหลัก
รู้จักชื่นชมกับความสำเร็จของคนอื่น
ให้ความเห็นอกเห็นใจกับคนที่มีทุกข์
สามารถให้ความรักคนอื่น และได้รับความรักจากคนอื่น
จิตวิญญาณ
มีจิตใจที่เป็นอิสระ ต้อนรับทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต ด้วยความยินดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี 
แล้วตอบสนองอย่างมีสติ และรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ
ยอมรับสิ่งที่ตนเองเป็น อย่าให้คนอื่นมาเติมเต็ม สิ่งที่ตนเองขาดอย่างไม่เหมาะสม ด้วยการการลดคุณค่าของตนเอง เช่นไปประจบสอพลอ หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพียงเพื่อให้ได้รับการยอมรับ หรือเพื่อเอาตัวรอด
มีความเต็มใจและจริงใจ ในการแบ่งปันหรือช่วยเหลือคนอื่น โดยไม่ต้องรอการร้องขอ หรือทำไปเพื่อต้องการผลตอบแทน

     
รศ. พญ. กนกรัตน์   สุขะตุงคะ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

Mr Kham Phat TEL: 85620 22228597 / 77555579
Email:morsenglao@hotmail.com 
  

10 เคล็ดลับบริหารเวลา ลดความเครียด 
บางทีการที่คุณรู้สึกยุ่งและเครียดอยู่ตลอดเวลา อาจจะไม่ได้มาจากการที่คุณมีงานมาก
เกินไป หรือมีเวลาไม่มากพอ แต่เพราะคุณไม่รู้จักใช้เวลาของตัวเองมากกว่า
หนึ่งในปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดความเครียดในการทำงาน ก็คือ งานที่มากเกิน และไม่มีเวลา
พอจะทำให้เสร็จ วิธีง่ายๆ ในการออกจากปัญหานี้ก็คือ การจัดระเบียบ และบริหารเวลา
อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายของการบริหารเวลา ไม่ใช่เป็นการหาเวลามากขึ้น แต่คือ
การจัดลำดับความสำคัญ และใช้เวลาที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด เราได้รวบรวมเคล็ดลับ
10 อย่าง เพื่อให้คุณควบคุมชีวิตตัวเองได้ และสนุกกับสิ่งที่ตัวเองทำ
1.
ทำรายการสิ่งที่ต้องทำและจัดลำดับความสำคัญ นี่คือจุดเิริ่มต้นของการบริหารเวลา เขียนรายการของภารกิจที่ต้องทำ จัดลำดับมันตามความสำคัญ และวางแผนว่าคุณจะทำมันเสร็จเมื่อไร เขียนหน้าที่และกิจกรรมที่จะช่วยทำมันได้เร็วที่สุด การจัดความสำคัญของภารกิจจะช่วยคุณลดความตึงเครียดลงได้
2.
สร้างกิจวัตร เลือกเวลาใสก็ได้ในแต่ละวันหรือสัปดาห์ เพื่อจัดการกับภารกิจบางอย่าง เช่น ตอบอีเมล์ โทรศัพท์ ทำงานเอกสาร และทำตามนั้นให้เป็นกิจวัตร
3.
เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ มันมีบางเวลาที่คุณต้องเรียนรู้ที่จะสร้างขอบเขต การจัดเวลาที่ไม่ดีบ่อยครั้งเป็นผลมาจากตัวเราเอง ที่ชอบตอบตกลงกับหลายสิ่งหลายอย่างเกินไป ทุกครั้งที่เราตกลงจะทำบางอย่างที่นอกเหนือตารางของเรา ภารกิจอื่นที่จัดเวลาเอาไว้ก็จะไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นเรียนรู้ที่จะปฏิเสธบ้าง บางครั้งคำว่า "ไม่" ก็ต้องพูดกับตัวเองด้วย อย่างได้รับอะไรก็ตามที่มากเกินขอบเขตความสามารถของคุณ
4.
เรียนรู้ว่าคุณทำงานตอนไหนดีที่สุด คุณสามารถค้นพบตัวเองได้ด้วยการดูผลงานของตัวเองสักช่วงหนึ่ง จากนั้น ก็ให้เวลาที่ตัวเองทำงานได้ดีที่สุดสำหรับการทำงานสำคัญที่สุด
5.
แบ่งภารกิจใหญ่ๆ ให้ย่อยลง ถ้าเป็นไปได้ ภารกิจใหญ่ๆ ควรถูกแบ่งเป็นภารกิจเล็กๆ หลายๆ เรื่อง มันจะทำให้ง่ายขึ้นที่จะรับมือกับมัน นอกจากนี้ การใช้วิธีการแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ คุณจะสามารถจัดมันให้เข้ากับตารางเวลาอันแสนยุ่งของคุณได้ง่ายขึ้น
6.
ประหยัดความพยายามเอาไว้บ้าง ตัดสินใจว่าภารกิจไหนที่ต้องการความใส่ใจอย่างละเอียดลออ และอะไรที่สามารถทำได้แบบสบายๆ การพยายามทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ นอกจากจะเป็นได้ยากแล้ว มันยังยิ่งทำให้คุณเครียดหนักขึ้นไปอีก
7.
เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็น แยกแยะงานที่ต้องทำให้เสร็จ กับงานที่สามารถแบ่งไปให้คนอื่นได้ มองหาวิธีที่จะพัฒนาวิธีทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น และพยายามทำงานที่ต้องทำเป็นประจำให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ หรือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้น
8.
จำกัดเวลา เรากำลังพูดถึงการบริหารเวลา ฉะนั้น โดยธรรมชาติ พร้อมกับการตั้งเวลาเริ่มต้นสำหรับกิจกรรม เราจำเป็นต้องตั้งเวลาที่จะหยุดเอาไว้ด้วย นี่จะต้องการการประมาณการ แต่การเดาของคุณจะพัฒนาขึ้นเมื่อได้ฝึกฝน นี่จะปล่อยให้คุณและคนอื่นสามารถจัดเวลาของกิจกรรมได้ดีกว่า
9.
อย่าโหดร้ายกับตัวเอง ให้เวลาตัวเองมากพอที่จะทำงานให้เสร็จ และลดความวิตกกังวล ถ้าคุณมีปัญหาในการทำงานให้ทันเดดไลน์ ให้เวลาตัวเองมากกว่าทีุ่คุณคิดว่าต้องการ เพื่อทำงานให้เสร็จอีก 20 เปอร์เซ็นต์
10.
วางแผนเพื่อทำให้ทุกอย่างเสร็จ คุณต้องหาเวลาเอาไว้เพื่อวางแผนและจัดตารางเวลาของคุณด้วย

การคลายเครียดในภาวะปกตเป็นวิธีการคลายเครียดที่คนทั่วไปนิยมปฏิบัติ โดยมักเลือกปฏิบัติในวิธีที่เคยชิน ถนัด หรือชอบ และสนใจ ทั้งนี้เพียงเพื่อให้ความเครียดลดลง รู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่น
1.
หยุดพักการทำงาน หรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่นั้นชั่วคราว ลุกขึ้นไปดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ ยืนยืดเส้นยืดสาย สะบัดแขนขา สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ก็จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
2.
ทำงานอดิเรกที่สนใจหรือถนัดและชื่นชอบ จะทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกหรือมีความสุข ลืมความเครียดที่มีอยู่ไปขณะหนึ่ง ทำให้ไม่หมกมุ่นกับปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียดได้ งานอดิเรกมีหลายประเภท เช่น
เล่นดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ ฟังเพลง
ทำงานศิลปะ งานประดิษฐ์
ปลูกต้นไม้ ขุดดิน ทำสวน
ตกแต่งบ้าน ตัดเย็บเสื้อผ้า
เขียนหนังสือ เขียนบันทึกต่างๆ อ่านหนังสือ
ดูโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฟังวิทยุ
3.
เล่นกีฬาหรือบริหารร่างกาย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เตะตะกร้อ เล่นเทนนิส แบดมินตัน เตะฟุตบอล โดยเลือกเล่นกีฬาที่ชอบหรือถนัด
4.
พบปะสังสรรค์กับเพื่อนที่ไว้วางใจ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน เช่น การรวมกลุ่มพูดคุยเรื่องที่สนุกสนาน อยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนที่อารมณ์ดี สร้างอารมณ์ขันให้กับตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย
5.
พักผ่อนให้เพียงพอ คนที่เครียดมักจะมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับแล้วตื่นกลางดึก ฝันร้าย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การที่จะทำให้กลางคืนมีการนอนหลับที่ดีนั้น สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน และอย่ากังวลว่าจะนอนไม่หลับ ให้เข้านอนเป็นเวลา และหากไม่ง่วงนอน ก็ให้หากิจกรรมบางอย่างทำไปก่อน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ เป็นต้น
6.
ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรือที่บ้านให้เหมาะสม เช่น จัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดบ้านและที่ทำงานให้ดูดีขึ้น ซึ่งหากสิ่งแวดล้อมดูสะอาด เรียบร้อย และสวยงามน่าอยู่แล้วย่อมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีและช่วยลดความเครียดลงได้
7.
เปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราว ในบางครั้งที่เราอาจคร่ำเคร่ง หรือเคร่งเครียดกับการทำงาน หรือกิจกรรมบางอย่างมาก ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซ้ำซาก จำเจเกินไป จนทำให้ไม่มีความสุข ดังนั้นการเปลี่ยนบรรยากาศชั่วคราวด้วยการชักชวนคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงออกไปท่องเที่ยวชมธรรมชาติ หลีกหนีบรรยากาศที่จำเจไปชั่วคราว หยุดงานชั่วขณะ หยุดพักผ่อนบ้าง เดินทางไปสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และเพลิดเพลินสักระยะหนึ่ง จะทำให้ความตึงเครียดลดลง และพร้อมที่จะลุยงานต่อไปได้ใหม่
สิ่งสำคัญที่ควรระลึกถึงคือ การหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน กินของจุกจิก หรือใช้ยาเสพติด เพราะนอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังอาจทำให้มีปัญหาอื่นๆ ตามมามากมาย เช่น เสียทรัพย์สินเงินทอง เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจกับคนในครอบครัว เป็นต้น

บันไดขั้นที่ 1 มองตัวเองว่าดีและมีค่าทุกวัน
ในแต่ละวันให้นึกถึงความดี และความโชคดีของตนเอง เริ่มต้นด้วยการตื่นนอนตอนเช้า ให้ยิ้มกับตัวเอง และนึกว่าโชคดีที่ได้ตื่นขึ้นมาแล้ว ให้นึกถึงความดีของตนเอง ที่เคยทำมาแล้วในอดีต (ที่สามารถนึกได้ง่ายๆ) เช่น เคยทำบุญ เคยช่วยคนที่อ่อนแอกว่า เคยสงเคราะห์สัตว์ ฯลฯ คิดว่าตัวเองดี และมีคุณค่าที่ได้เคยทำสิ่งดีๆ และให้นึกซ้ำๆ จะได้เกิดความเชื่อตามที่นึกนั้น คุณก็จะเกิดความอิ่มเอิบใจ และเชื่อว่าตัวเองมีความดี ความเก่ง ตามความเป็นจริงในขณะนั้นด้วย คุณจะเกิดความอยากมีชีวิตอยู่ และสร้างสิ่งที่ดีๆ ให้กับชีวิตต่อไป และต้องอวยพรตัวเองเสมอๆ อย่าแช่ง หรือตำหนิตัวเอง และอย่ารอให้คนอื่นมาชื่นชมคุณ ซึ่งมักจะไม่ได้ดั่งใจ หรือได้มาก็ไม่สมใจ
บันไดขั้นที่ 2 มองคนอื่นดี มองโลกในแง่ดี
ขั้นนี้คุณจะต้องมองว่า ทุกๆ คน มีขีดจำกัดของความสามารถ ความดี ความเก่งกันทุกคน ตามความเป็นจริงของเขา ซึ่งไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกันเลย ส่วนความไม่ดี หรือไม่เก่งของเขา (ซึ่งมีกันทุกคน) ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาไป ให้มองเฉพาะส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น ถ้าคุณทำได้เช่นนี้ คุณก็จะเป็นคนที่มองอนาคน และชีวิตดี มีความหวังที่ดีในชีวิตตลอดเวลา สองสิ่งนี้ ถ้าคุณทำเป็นนิสัย คุณจะพบว่า โลกนี้มีสิ่งที่ดีๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ และท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นสุขนิยมทั้งชีวิต
บันไดขั้นที่ 3 ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
คือการอยู่กับปัจจุบัน ทำกิจกรรมในวันนี้และเวลานี้ให้ดีที่สุด ทำได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ทุกข์ร้อน หรือคาดหวังกับผลลัพธ์ของมัน ไม่ว่าจะสมใจ หรือไม่สมใจก็ตาม จงชื่นชมในความตั้งใจ ทำเต็มความสามารถของตนเอง และคิดต่อว่า ในอนาคตจะต้องทำให้ดีกว่านี้ นอกจากนั้น คุณต้องเลิกจดจำ หรือนึกถึงเรื่องที่ไม่ดีที่เกิดกับคุณในอดีต เพราะการจดจำเรื่องราวที่ไม่ดีในอดีต เท่ากับคุณไปสะกิดแผลในใจ และจะทำให้คุณเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ปัจจุบันคุณไม่มีความสุข และกลัวว่าอนาคตจะเกิดสิ่งที่ไม่ดีซ้ำๆ อีก
บันไดขั้นที่ 4 มีความหวังและเชื่อว่าอนาคตจะดีเสมอ
ความหวัง ความเชื่อ เกิดจากความคิดถึงบ่อยๆ หรือได้ยินบ่อยๆ จงนึกและบอกกับตัวเองเสมอว่า อนาคตจะดีขึ้นอีกเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดกำลังใจมากขึ้น อยากพบเห็นสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตโดยไม่กลัว มีอารมณ์ขัน และไม่จริงจังกับชีวิตมากนัก แต่จะมีความหวังที่ดีๆ (Good Hope) อยู่เสมอ แต่อย่ามีความคาดหวัง กับชีวิต เพราะถ้าคาดหวังกับชีวิต เรามักจะกลัว หรือกังวลว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ดังความคาดหวัง หรือเมื่อได้มาแล้วก็มักไม่พอใจ จึงอาจทำให้เกิดทุกข์ได้

บันได้ขั้นที่ 5 ปรับปรุงตัวเองเสมอ


โดยปรับปรุง 4 ส่วนที่มีความสำคัญต่อชีวิต คือ

1.
การงาน ให้มีความขยัน อดทน หมั่นหาความรู้ใส่ตัว และกล้าลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ควรทำ จะทำให้มีการลงมือทำสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตได้เรื่อยๆ และปรากฏเป็นผลงานที่ชัดเจน
2.
ครอบครัว จะต้องยึดหลักที่เป็นมงคลต่อกันคือ ไม่อิจฉา ไม่ระแวง ไม่แข่งขัน ไม่นอกใจ รู้จักการให้และการอภัย มีน้ำใจ และรู้จักเกรงใจกัน
3.
สังคม หมั่นสร้างมิตรเสมอ มีการให้ความสำคัญกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพูดจากันแบบปิยะวาจา
4.
ตนเอง ต้องมีการพัฒนาตนเองเสมอ มีความภูมิใจตนเองตามความเป็นจริง สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ และมีกำลังใจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
Mr Kham Phat TEL: 85620 22228597 / 77555579
Email:morsenglao@hotmail.com 

การรักษามะเร็งปากมดลูก precancerous, ไมเกรน (migraine),การรักษา,10 ข้อผิดพลาดของการรับประทานอาหารผิดวิธี สำหรับผู้ป่วยต้องการลดน้ำหนัก


Mr Kham Phat TEL: 85620 22228597 / 77555579
Email:morsenglao@hotmail.com 

โรคมะเร็ง
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
·   Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
·   Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
มะเร็งในระยะเริ่มแรก
เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.
·   Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
·   High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia
มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas
การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม
เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี
อาการของมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว
·   มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
·   มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
·   มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
·   การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
·   การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
·   การรับประทานยาคุมกำเนิด
·   ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
·   การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
·   อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
·   ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
·   การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
·   ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
·   ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง
การวินิจฉัย จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ  Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร
การรักษามะเร็งปากมดลูก precancerous
การรักษาขึ้นกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ลักษณะ precancerous ว่าเป็น low หรือ high-SIL ผู้ป่วยมีบุตรพอหรือยัง สุขภาพผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วยและแพทย์ โดยทั่วไม่
·   หากผลการตรวจพบว่าเป็น low-grade SIL ก็แนะนำให้มาตรวจภายในซ้ำ ใน 6 เดือนถึงสองปี แต่แพทย์บางท่านอาจจะตรวจพิเศษแบบ colposcopy โดยการส่องกล้องตรวจ
·   สำหรับผลการตรวจ PAP เป็นแบบชนิด high-SIL แนะนำให้ตรวจพิเศษ colposcopy และตักชิ้นเนื้อตรวจ หากผลชิ้นเนื้อเป็นแบบเดียวกันก็แนะนำผ่าตัดเอาออกเนื้อจนหมด
·   ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประจำปี ถ้าจำเป็นต้องรักษาแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาได้หลายวิธีคือ การใช้ความเย็น (cryosurgery)ใช้ไฟจี้( cauterization) ใช้ laser
หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจต่อเพื่อตรวจว่าโรคมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น หรือยังโดยแพทย์จะตรวจ
·   เจาะเลือดตรวจเลือดทั่วไป( CBC )เพื่อดูว่าซีดหรือไม่ เกร็ดเลือดปกติหรือไม่ ตรวจการทำงานของไต (BUN ,CREATININ) เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกอาจแพร่กระจายอุดทางเดินของปัสสาวะทำให้ไตวาย ตรวจตับ (LFT)เนื่องจากมะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังตับ
·   แพทย์จะส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ cystoscopy ,ตรวจลำไส้ใหญ่ (proctosigmoidoscopy) โดยใช้อุปกรณ์ส่องเข้าไปตรวจ
·   แพทย์จะตรวจสวนสีตรวจลำไส้ใหญ่ barium enema เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่ไปลำไส้ใหญ่หรือยัง
·   แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจไต {intravenous pyelogram,IVP }เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อไตหรือยัง
·   ตรวจ computer x-ray,ultrasound เพื่อตรวจอวัยวะอื่นดูการแพร่กระจายของมะเร็ง
 ก่อนการรักษาใดๆผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจดังตัวอย่าง
·   มะเร็งที่เป็นอยู่นี้แพร่กระจายหรือยัง
·   วิธีการรักษาที่ดีทีสุด แพทย์เลือกวิธีไหน ทำไมจึงเลือกดวิธีนี้
·   โอกาสจะประสบผลสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด
·   มีโอกาสเสี่ยงอะไรบ้าง ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
·   ใช้เวลารักษานานเท่าใด
·   ใช้ค่าใช้จ่ายแค่ไหน
·   ถ้าไม่รักษาจะเป็นเช่นใด
·   จะมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติหรือไม่
·   ต้องตรวจซ้ำบ่อยแค่ไหน
Mr Kham Phat TEL: 85620 22228597 / 77555579 
Email:morsenglao@hotmail.com 
  
ไมเกรน (migraine) 
· เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง อาการปวดเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งประมาณ 8-12 ชั่วโมง บางรายอาจปวดนานถึง 72 ชั่วโมง อาการปวดไมเกรน จะแย่ลงถ้ามีการเคลื่อนไหว ขณะปวดมักมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการนำก่อนปวด เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วครู่ ชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย อาการนำมักเป็นอยู่ประมาณ 5–20 นาที
โรคนี้พบในเพศหญิงมากกว่าชาย
เริ่มอาการครั้งแรกในวัยรุ่นหรือหนุ่มสาว อาการเป็นๆ หายๆ ถี่หรือห่างแล้วแต่บุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อม บางคนอาการจะหายไปเมื่ออายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการไมเกรนครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 30 ปี แต่ผู้ป่วยบางส่วนอาจจะมีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 40-50 ปี
ผลกระทบที่สำคัญที่เห็นได้ชัดคือ เสียสุขภาพกาย ต้องทรมานจากความปวด บางรายปวดรุนแรงมากจนแทบอยากจะวิ่งเอาหัวชนฝาผนัง บางรายก็ปวดข้ามวันข้ามคืนจนนอนหลับไม่สนิท บ้างก็คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจนเสียสมรรถภาพการเรียนการทำงาน ไมเกรนเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ทำงานประเภทใช้ความคิดต้องขาดงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจไม่น้อย ถ้าเป็นบ่อยมากเป็นรุนแรงมากๆ ก็ทำให้เสียสุขภาพจิตได้
สาเหตุ
1.  สาเหตุและกลไกการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ระยะหลังมานี้มีคณะวิจัยทางด้านจีโนมิกส์ พบว่า ion-transport gene อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไมเกรน
2.  พบว่าระบบประสาทของผู้ที่เป็นไมเกรนไวต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นไมเกรน เมื่อระบบประสาทมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆ สมอง
3.  บางทฤษฎีอธิบายจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมองก็ได้
4.  หลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยา เชื่อว่าไมเกรนถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบ ไมเกรนเป็นความผิดปรกติในกลุ่มโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย โดยมีอาการทางระบบประสาทก่อนมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
5.  เดิมเชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้นร่างกายมีการตอบสนองโดยการทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัว ซึ่งการขยายตัวของหลอดเลือดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะขึ้น
ปัจจัยกระตุ้น
1.  อาหาร การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส ใส่สารถนอมอาหาร อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ สารบางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น คาเฟอีน ช๊อคโกแล็ต ผงชูรส สารไนเตรท สารไทรามีน
2.  การนอนหลับ การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไปสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับการขยายและหดตัวของหลอดเลือดในสมอง
3.  ฮอร์โมน ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นไมเกรนมักจะมีอาการปวดในช่วงที่มีประจำเดือน และความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดมักจะมากกว่าหรือการปวดในช่วงอื่น การตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ มักจะทำให้อาการปวดไมเกรนแย่ลง
4.  สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อน ตากแดด กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ