โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
· Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
· Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
มะเร็งในระยะเริ่มแรก
เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.
· Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
· High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia
มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas
การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม
เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี
อาการของมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว
· มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
· มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
· มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
· การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
· การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
· การรับประทานยาคุมกำเนิด
· ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
· การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
· อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
· ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
· การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
· ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
· ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง
การวินิจฉัย จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร
การรักษามะเร็งปากมดลูก precancerous
การรักษาขึ้นกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ลักษณะ precancerous ว่าเป็น low หรือ high-SIL ผู้ป่วยมีบุตรพอหรือยัง สุขภาพผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วยและแพทย์ โดยทั่วไม่
· หากผลการตรวจพบว่าเป็น low-grade SIL ก็แนะนำให้มาตรวจภายในซ้ำ ใน 6 เดือนถึงสองปี แต่แพทย์บางท่านอาจจะตรวจพิเศษแบบ colposcopy โดยการส่องกล้องตรวจ
· สำหรับผลการตรวจ PAP เป็นแบบชนิด high-SIL แนะนำให้ตรวจพิเศษ colposcopy และตักชิ้นเนื้อตรวจ หากผลชิ้นเนื้อเป็นแบบเดียวกันก็แนะนำผ่าตัดเอาออกเนื้อจนหมด
· ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประจำปี ถ้าจำเป็นต้องรักษาแพทย์อาจเลือกวิธีรักษาได้หลายวิธีคือ การใช้ความเย็น (cryosurgery)ใช้ไฟจี้( cauterization) ใช้ laser
หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจต่อเพื่อตรวจว่าโรคมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น หรือยังโดยแพทย์จะตรวจ
· เจาะเลือดตรวจเลือดทั่วไป( CBC )เพื่อดูว่าซีดหรือไม่ เกร็ดเลือดปกติหรือไม่ ตรวจการทำงานของไต (BUN ,CREATININ) เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกอาจแพร่กระจายอุดทางเดินของปัสสาวะทำให้ไตวาย ตรวจตับ (LFT)เนื่องจากมะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังตับ
· แพทย์จะส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ cystoscopy ,ตรวจลำไส้ใหญ่ (proctosigmoidoscopy) โดยใช้อุปกรณ์ส่องเข้าไปตรวจ
· แพทย์จะตรวจสวนสีตรวจลำไส้ใหญ่ barium enema เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่ไปลำไส้ใหญ่หรือยัง
· แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจไต {intravenous pyelogram,IVP }เพื่อตรวจว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อไตหรือยัง
· ตรวจ computer x-ray,ultrasound เพื่อตรวจอวัยวะอื่นดูการแพร่กระจายของมะเร็ง
ก่อนการรักษาใดๆผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจดังตัวอย่าง
· มะเร็งที่เป็นอยู่นี้แพร่กระจายหรือยัง
· วิธีการรักษาที่ดีทีสุด แพทย์เลือกวิธีไหน ทำไมจึงเลือกดวิธีนี้
· โอกาสจะประสบผลสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด
· มีโอกาสเสี่ยงอะไรบ้าง ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
· ใช้เวลารักษานานเท่าใด
· ใช้ค่าใช้จ่ายแค่ไหน
· ถ้าไม่รักษาจะเป็นเช่นใด
· จะมีคุณภาพชีวิตเหมือนคนปกติหรือไม่
· ต้องตรวจซ้ำบ่อยแค่ไหน
ไมเกรน (migraine)
· เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง อาการปวดเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งประมาณ 8-12 ชั่วโมง บางรายอาจปวดนานถึง 72 ชั่วโมง อาการปวดไมเกรน จะแย่ลงถ้ามีการเคลื่อนไหว ขณะปวดมักมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการนำก่อนปวด เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วครู่ ชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย อาการนำมักเป็นอยู่ประมาณ 5–20 นาที
โรคนี้พบในเพศหญิงมากกว่าชาย
โรคนี้พบในเพศหญิงมากกว่าชาย
เริ่มอาการครั้งแรกในวัยรุ่นหรือหนุ่มสาว อาการเป็นๆ หายๆ ถี่หรือห่างแล้วแต่บุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อม บางคนอาการจะหายไปเมื่ออายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการไมเกรนครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 30 ปี แต่ผู้ป่วยบางส่วนอาจจะมีอาการครั้งแรกในช่วงอายุ 40-50 ปี
ผลกระทบที่สำคัญที่เห็นได้ชัดคือ เสียสุขภาพกาย ต้องทรมานจากความปวด บางรายปวดรุนแรงมากจนแทบอยากจะวิ่งเอาหัวชนฝาผนัง บางรายก็ปวดข้ามวันข้ามคืนจนนอนหลับไม่สนิท บ้างก็คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจนเสียสมรรถภาพการเรียนการทำงาน ไมเกรนเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ทำงานประเภทใช้ความคิดต้องขาดงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจไม่น้อย ถ้าเป็นบ่อยมากเป็นรุนแรงมากๆ ก็ทำให้เสียสุขภาพจิตได้
สาเหตุ
1. สาเหตุและกลไกการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ระยะหลังมานี้มีคณะวิจัยทางด้านจีโนมิกส์ พบว่า ion-transport gene อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไมเกรน
2. พบว่าระบบประสาทของผู้ที่เป็นไมเกรนไวต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นไมเกรน เมื่อระบบประสาทมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบๆ สมอง
3. บางทฤษฎีอธิบายจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมองก็ได้
4. หลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยา เชื่อว่าไมเกรนถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบ ไมเกรนเป็นความผิดปรกติในกลุ่มโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย โดยมีอาการทางระบบประสาทก่อนมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
5. เดิมเชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้นร่างกายมีการตอบสนองโดยการทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัว ซึ่งการขยายตัวของหลอดเลือดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะขึ้น
ปัจจัยกระตุ้น
1. อาหาร การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส ใส่สารถนอมอาหาร อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ สารบางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น คาเฟอีน ช๊อคโกแล็ต ผงชูรส สารไนเตรท สารไทรามีน
2. การนอนหลับ การนอนหลับมากหรือน้อยเกินไปสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินเกี่ยวข้องกับการขยายและหดตัวของหลอดเลือดในสมอง
3. ฮอร์โมน ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นไมเกรนมักจะมีอาการปวดในช่วงที่มีประจำเดือน และความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดมักจะมากกว่าหรือการปวดในช่วงอื่น การตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ มักจะทำให้อาการปวดไมเกรนแย่ลง
4. สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อน ตากแดด กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
No comments:
Post a Comment