โรคเบาหวาน อาหารสำหรับโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน ถือเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เนื่องจากคนไทยป่วยด้วย โรคเบาหวาน นี้มากถึง 2-3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย โรคเบาหวาน จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโรคที่คุกคามคนไทย พบได้ในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตาม มีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วย โรคเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัว ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ป่วยได้ปล่อยให้โรคลุกลามจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ที่รุนแรงได้ ดังนั้น วันนี้ลองมาสำรวจดูว่าคุณอยู่ในข่ายเสี่ยง โรคเบาหวาน หรือไม่ พร้อมๆ กับทำความเข้าใจ โรคเบาหวาน นี้อย่างถูกต้องกันค่ะ
โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) เกิดจากตับอ่อนสร้าง "ฮอร์โมนอินซูลิน" (Insulin) ได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ เมื่อน้ำตาลคั่งในเลือดมากๆ ก็จะถูกไตกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวานหรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่า "เบาหวาน" นั่นเอง
ทั้ง นี้ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด และเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วย เช่น อ้วนเกินไป (หรือกินหวานมากๆ จนอ้วน ก็อาจเป็นเบาหวานได้) มีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, มะเร็งของตับอ่อน, ตับแข็งระยะสุดท้าย เป็นต้น
ลักษณะ โดยทั่วไปของผู้ป่วย โรคเบาหวาน จะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำจากเลือดออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อยๆ และด้วยความที่ผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ จึงทำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย
ประเภทของ โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีอาการ สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้แก่
1. โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า "โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง" (autoimmune) ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ร่วมกับการติดเชื้อหรือการได้รับสารพิษจากภายนอก
ดัง นั้น ผู้ป่วย โรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นุรนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน" หรือ "คีโตซิส" (Ketosis)
2. โรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (Non-insulin dependent diabetes) เป็น เบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ มีความุรนแรงน้อย มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง โดยตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้กลายเป็นเบาหวานได้ บางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไป และผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เหมือนกับชนิดพึ่งอินซูลิน
อาการ โรคเบาหวาน
อาการแทรกซ้อนของผู้ป่วย โรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง
อาการ แทรกซ้อนต่างๆ มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือปล่อยปละละเลย ทั้งนี้ โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น
1. ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
2. ระบบประสาท ผู้ ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ)
3. ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง , อัมพาต , โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็นเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ, เป็นฝีพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผลซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
6. ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
ข้อแนะนำในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย โรคเบาหวาน
โรคภูมิแพ้ รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ กับฝุ่นที่ทำงานและห้องนอน (เดลินิวส์)
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อย ในที่นี้หมายถึงภูมิแพ้จากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศเรามองไม่เห็น ทำให้เกิดอาการแพ้ คันจมูก น้ำมูกไหล เป็นไม่มากแต่เรื้อรังก่อความรำคาญให้ไม่สะดวกในการทำงาน สาเหตุป่วยเป็น โรคภูมิแพ้ ก็รู้ๆ อยู่แต่ไม่สามารถแก้ไขให้หายขาดได้ เพราะฝุ่นมีอยู่ทั่วไป ทำให้เป็นโรคเรื้อรังประจำตัวกันมาก
โรคภูมิแพ้ เรื่องแพ้ฝุ่นละอองบางคนโชคดีไม่แพ้ ผู้ที่แพ้จะมีอาการมากน้อยต่างกัน ตั้งแต่คันจมูก คันตา น้ำมูกใส จามบ่อย แน่นจมูก เจ็บคอ ไปจนถึงอาการมากแน่นหอบหายใจไม่ค่อยออกแบบหอบหืด จะเห็นมาโรงพยาบาลกันบ่อยตอนเช้ามืด มาสูดดมออกซิเจน กันสักพัก พอค่อยดีขึ้นจึงค่อยกลับไป
สาร ทำให้เป็น โรคภูมิแพ้ ที่พบบ่อยมี ฝุ่น นุ่น ละอองเกสรพืช ไรฝุ่น ขนสัตว์จากสุนัขและแมวไปจนถึงเชื้อราในอากาศ รวมทั้งอุณหภูมิของอากาศเป็นตัวช่วย บางครั้งอากาศหนาวเย็นจะมีอาการแพ้ง่ายขึ้น ภาวะมลพิษ บางคนอยู่ในบ้านหรือในตัวเมืองแพ้ พอออกไปอยู่ริมทะเลได้สัมผัสอากาศที่เย็นสบาย หรืออยู่บนที่สูงภาวะมลพิษน้อย อาการอาจทุเลาลงหรือหายไป รู้สึก สดชื่นสบายขึ้น หรือบางท่านว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมได้ถึง 75%
โรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจได้แก่ หืด จมูกอักเสบ คาดว่ามีถึง 18 ล้านคน แพ้จากไรฝุ่นราว 30% ในฝุ่น จะมีตัวไรฝุ่นแฝงอยู่ เรามองไม่เห็น ชอบอากาศชื้น ในบ้านเรือนจะเกาะอยู่ทั่วไปและ บนโต๊ะทำงาน บนหนังสือที่วางอยู่ข้างหน้าเรา
นอก จากนี้ยังอยู่ทั่วไปในบ้าน ห้องนอน ได้แก่ ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม พรมปูพื้น ผ้าม่าน ตุ๊กตา และเครื่องเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งวัตถุสะสมต่าง ๆ ชอบอุณหภูมิราว 25 องศา ความชื้น 70-80 หน่วย ออกไข่มาก ขยายพันธุ์รวดเร็ว ทั้งตัวและมูลมีโปรตีนก่อภูมิแพ้สูง เรียงลำดับแพ้จากมากไปน้อย คือมูล ตัวแก่ ตัวอ่อน และไข่
การหลีกเลี่ยงไรฝุ่น จะทำให้อาการแพ้ลดลง โดยปกติถ้ามีไรฝุ่นมากกว่า 2 ไมโครกรัมต่อฝุ่น 1 กรัม จะทำให้เกิดการแพ้ ถ้ามากถึง 10 ไมโครกรัม จะทำให้จับหอบหืดเฉียบพลันได้ การป้องกัน ทั้งๆ ที่รู้แต่การป้องกันยาก จะไปทางไหนก็มีแต่ฝุ่นทั้งนั้น ดีที่สุด ก็คือ การทำความสะอาด เอาวัตถุที่ไม่จำเป็นออกจากห้องทำงานและห้องนอนให้มากที่สุด ปัดกวาด เอาผ้าคลุมไว้ ซักผ้าคลุม ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน มุ้ง บ่อยหน่อย หรือไม่ก็เอาไปตากแดด คงพอช่วยผ่อนคลายได้
นอกจากนี้ ดอกไม้ วัชพืช ล้วนมีละออง ขนของสัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แมว ก็เช่นกัน อาจทำให้แพ้ได้
โรคภูมิแพ้ เป็นเรื่องที่ต้องหาสาเหตุว่ามาจากอะไร ภูมิแพ้จากทางเดินหายใจถ้ารู้ว่ามาจากฝุ่นละออง ที่ทำงานและที่นอนเป็นที่ที่เราสัมผัสมากที่สุดในชีวิตประจำวันหากได้มีการ ปรับปรุงแก้ไขคงจะช่วยให้ทุเลาลงได้
ว่าด้วยเรื่องโรคของชายและหญิง ที่ต้องพึงระวัง
โรคของผู้ชายและผู้หญิงมีลักษณะเฉพาะที่ต่างออกไป เนื่องจากสภาวะทางร่างกายของผู้ชายและผู้หญิงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกช่วงวัย ดังนั้น เราควรต้องรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ขึ้นได้
โรคฮิตที่ผู้ชายควรระวัง
ดังนั้นผู้ชายที่มีอายุมากแล้ว เวลามีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรให้หมอตรวจเช็ก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ส่วนอาการที่บ่งบอกว่าต่อมลูกหมากโต เช่น ต้องออกแรงฉี่มาก แต่ปัสสาวะไหลน้อยและอ่อนแรง ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาจมีเลือดปนออกมา ซึ่งควรไปหาหมอ เพราะอาจมีความเจ็บป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น หนาวสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ ความน่ากลัวของโรคนี้สำหรับผู้ชาย คือ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพราะมีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน้อยลง
โรคร้ายที่ผู้หญิงควรรู้
ปัจจัยของโรคนี้มีสาเหตุหลายอย่างทั้ง พันธุกรรม การใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี ภาวะน้ำหนักเกิน การดื่มสุราจัด ล้วน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น ผู้หญิงทุกคนควรตรวจหาก้อนเนื้อที่เต้านมด้วยตนเอง และควรไปตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม หรืออุลตร้าซาวน์ด์เป็นประจำทุกปี สำหรับผู้หญิงที่อายุเกิน 40 ขึ้นไป
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มจากแขนขาอ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน
นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน รวมทั้งผู้ที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิด ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย
อาการของโรคหัวใจ จะปวดเสียดที่หน้าอก หายใจไม่ออก หายใจถี่ ปวดกราม ปวดไหล่ วิงเวียน คลื่นเหียน อาจาร และเหงื่อแตก สำหรับผู้หญิงนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ความเครียดเรื้อรัง น้ำหนักที่เกินมาตรฐาน มักเกิดขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จัด และครอบครัวมีประวัติการเจ็บป่วย
ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกต้องตามหลักควบคุมน้ำหนัก ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การผ่อนคลายก็เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการเกิดโรคหัวใจได้
การตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมีความสำคัญเพราะอาจช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ ในระยะแรกโรคจะจำกัดวงอยู่เฉพาะภายในรังไข่ แต่หลังจากนั้นจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ช่องคลอด สำหรับการตรวจหามะเร็งรังไข่มีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจช่องคลอดและทวารหนัก การตรวจอัลตร้าซาวน์ด์อุ้งเชิงกราน ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ไม่แตกต่างจากมะเร็งทั่วไปในเรื่องของ ประวัติครอบครัว รวมทั้งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจัด การกินอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีต่ำ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงขึ้น เราสามารถป้องกันได้โดยการบริโภคแคลเซียมอย่างเพียงพอ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะกระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 30 ปี และเริ่มเสื่อมลงอย่างช้าๆ ดังนั้นยิ่งกระดูกเราแข็งแรงมากเท่าไรในช่วงที่พัฒนาเต็มที่ ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพกระดูกเท่านั้น
Tips เทคนิคดูแลสุขภาพให้ห่างโรคของชาย-หญิง
นพ. พินิจ ลิ้มสุคนธ์ แพทย์ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลสุขุมวิท ได้เผยถึงเทคนิคการดูแลสุขภาพของผู้ชายและผู้หญิงว่า...
การดูแลสุขภาพของผู้ชายกับผู้หญิงโดยทั่วไปแล้วไม่ต่างกัน เพราะทั้งสองฝ่ายก็เน้นการมีสุขภาพดี และก็ใช้พื้นฐานการดูแลสุขภาพในแบบเดียวกัน ซึ่งผู้ ที่ใส่ใจสุขภาพก็จะมีความระมัดระวังในเรื่องการดูแลสุขภาพค่อนข้างดีอยู่ แล้ว เพียงแต่ว่าคนไม่ใส่สุขภาพเขาก็ไม่ตระหนักเรื่องพวกนี้ และก็ใช้วิถีชีวิตไปตามปกติซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่สำหรับคนที่ใส่ใจสุขภาพแล้วบางคนก็สุขภาพดี บางคนก็มีสุขภาพไม่ดีเนื่องมาจากความใส่ใจอย่างเดียวไม่พอ ต้องลงมือปฏิบัติอย่างมีวินัย
ถ้า เปรียบเทียบร่างกายเหมือนรถยนต์แล้วคุณต้องการให้รถยนต์มีสมรรถนะดี ก็มีหลักง่ายๆ คือใช้งานให้ถูกต้อง และทำนุบำรุงรักษาสม่ำเสมอ ฉะนั้น ร่างกายของเราถ้าจะให้มีสุขภาพดี ก็ต้องใช้งานให้ถูกต้อง ดำเนินวิถีชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ดูแลรักษา หมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เริ่มปรากฏ แล้ววิเคราะห์ด้วยตนเองหรือปรึกษาแพทย์ให้รู้ว่าอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หมายถึงอะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ส่วนการใช้ชีวิตไปตามปกติ ก็ต้องให้เหมาะสมกับเพศกับวัย ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศกับวัย อย่าขี้เกียจ สำหรับโรคภัยผู้ชายกับผู้หญิงนั้นก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่ต่างกันที่เห็นได้ชัดคือผู้ชายมีต่อมลูกหมากและอัณฑะ ส่วนผู้หญิงมีรังไข่ มดลูก หน้าอก ผู้หญิงก็จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ แต่ในขณะเดียวกันผู้ชายจะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกเหนือจากปัญหาทั่วๆ ไป ผู้ชายก็จะเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง เช่นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับสมอง อัมพาต อัมพฤต ฯลฯ รวมถึงวิถีชีวิตและการปฏิบัติตัวที่ผู้ชายทำงานเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง ทำงานนอกบ้าน และมีสังคมมากกว่าผู้หญิงซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพ
ดังนั้น โรคที่เกิดถ้าดูแลสุขภาพไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ชายก็เป็นมากกว่าผู้หญิง แต่ถ้าคุณดูแลสุขภาพให้ดีๆ ผู้ชายกับผู้หญิงก็ห่างจากโรคได้เช่นเดียวกัน
อยู่อย่างไรให้ห่างไกล มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม ถือเป็นเพชฌฆาตร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ และในประเทศไทยมีผู้หญิงป่วยเป็นโรคร้ายชนิดนี้มากเป็นอันดับสองรองจาก มะเร็งปากมดลูก จากสถิติทางการแพทย์ยังบ่งชี้ด้วยว่า สาวเมืองกรุงมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าสาวชนบท เพราะใช้ชีวิตรีบเร่งไม่มีเวลาดูแลสุขภาพตัวเอง, ขาดการออกกำลังกาย และเป็นโรคเครียดสะสม
ในเวทีสัมมนา "Wacoal Cares Your Breasts" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และเคล็ดลับการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ห่างไกลมะเร็งเต้านม อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ภายในงาน SAHA GROUP EXPORT & TRADE EXHIBITION ครั้งที่ 12 ที่ศูนย์ การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.กริช โพธิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านมะเร็งเต้านม
จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช พยาบาล เล่าถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ผู้หญิงยุคใหม่เป็นมะเร็งเต้านมว่า ผู้หญิง ยุคปัจจุบัน มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเต็มไปด้วยความรีบเร่ง จนไม่มีเวลาดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน หลายคนหันมานิยมบริโภคอาหารสำเร็จรูป และฟาสต์ฟู้ดซึ่งอุดมไปด้วยแป้งและไขมันสูง ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีเวลาออกกำลังกาย,พักผ่อนไม่เพียงพอ,สูบบุหรี่กินเหล้า และปล่อยให้ความเครียด สะสม ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม
สำหรับ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป มีอาทิ ประวัติครอบครัว ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติสองเท่า, ขนาดของเต้านมก็เป็นปัจจัยสำคัญ ผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงเต้านมเล็ก, ผู้หญิงที่ไม่มีลูก หรือมีลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี มีความ เสี่ยงสูงเช่นกัน ขณะที่ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องนาน 10 ปีขึ้นไป หรือใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุน้อยๆ กลุ่มนี้ก็เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม
เนื่อง จากยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถรักษาให้หายเร็วเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมลง 60% พยายามรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าสม่ำเสมอ จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ได้รับแสงแดดอ่อนๆ สม่ำเสมอ มีแนวโน้มเป็นมะเร็งเต้านมน้อยลงถึง 40% เคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้ปลอดภัยจากโรคร้าย ยังรวมถึงการงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับให้เพียงพอ และมองโลกในแง่ดี
รู้ทัน . . .มะเร็งปากมดลูก
แม้ มะเร็งปากมดลูก จะเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่ โรคมะเร็งปากมดลูก ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตของ มะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน และพบผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก รายใหม่สูงถึง 6,000 คนต่อปี โดยในจำนวนของผู้มีเชื้อนี้กว่าครึ่งต้องเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอายและกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ มะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูก นี้ ความรุนแรงของโรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว..ดังนั้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก มาให้คุณรู้เท่าทัน โรคมะเร็งปากมดลูก กันค่ะโรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก
ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด
สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่าง ไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปี
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
- การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
- การสูบบุหรี่
- การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์
- การสูบบุหรี่
- พันธุกรรม
- การขาดสารอาหารบางชนิด
ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
โรค มะเร็งปากมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้ ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่
โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้
ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ มะเร็งปากมดลูก หรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น
ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูก มีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ
ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อย่าลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ
โรคหัวใจ Heart Disease
ชั่วโมง การทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง...
หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?
ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน...
คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้ 1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ
3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่าง เพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติ หัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน
5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้
6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย...
นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...
1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว
2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง
โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...
การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี...
ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด
สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ
สังเกต ความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
ดูแล สุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
รับ ประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ
... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ
หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?
ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้ 1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...
การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด
... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ
10 วิธีเพื่อเซ็กส์ที่ดีขึ้น ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์
สำหรับคุณผู้ชายท่านไหนที่กำลังคิดว่า เรื่องบนเตียงหรือ "เซ็กส์" ของ คุณนั้น ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร รู้ไม่รู้ว่าที่ได้ทำ ๆ ไปนั้นถูกต้องหรือเป็นที่ถูกใจคนรักหรือไม่นั้น ขอให้ทำใจเย็น ๆ และอย่าเพิ่งไปวิตกอะไรมากมายไปซะก่อนนะครับ เพราะวันนี้เรามีวิธีการดี ๆ ที่จะทำให้เซ็กส์ของคุณนั้นดีขึ้น แถมวิธีการที่นำมาเสนอนี้ยังเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ปลอดภัยและ เชื่อถือได้อีกด้วย อยากรู้กันแล้วใช่ไหมครับว่าวิธีการที่ว่านั้นจะมีอะไร บ้าง งั้นอย่ามัวเสียเวลาอยู่เลยครับ มาดูกันว่าวิธีเพื่อให้เซ็กส์ดีขึ้นนั้น จะมีอะไรกันบ้าง..
เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับคู่รักในการเพิ่มพูนความสุขทุก ๆ ครั้งที่มีกิจกรรมอันเร่าร้อนร่วมกัน การบอกอีกฝ่ายอยู่เสมอ ๆ ว่า "เจ๋งมาก" "คุณสวยมาก" หรือใด ๆ ก็ตามที่ฟังแล้วให้กำลังใจต่อกัน จะช่วยให้เซ็กส์ของคุณดูมีสีสันมากขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ ซึ่งจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอินเดียน่าบอกว่า เมื่ออีกฝ่ายได้ยินแบบนั้นแล้ว จะทำให้เธอ มีความมั่นใจกับทักษะด้านบนเตียงมากขึ้น เกิดความผ่อนคลายและไม่เครียดหรือเป็นกังวลกับอารมณ์ของอีกฝ่ายมากไปนัก นี่เองจึงทำให้เพิ่มความสุขในระหว่างที่ร่วมหลับนอนกันได้มากขึ้นด้วยเช่น กัน
อย่าเพิ่งอ่านผิดเป็นใช้หูฟังที่ฟังเพลงดัง ๆ กันไปซะก่อน ใช้หุฟัง ณ ที่นี่คือการที่คุณจะต้องใส่ใจด้วยว่าฝ่ายสาวนั้นเป็นอย่างไรบ้างในระหว่าง ที่กำลังโชว์สเต็บบนเตียงรักกันอยู่ นอกจากกายจะกระทำแล้ว หูต้องคอยฟังเสมอด้วยว่า ฝ่ายสาวต้องการอะไรบ้าง คุณลงแรงมากไปไหม หรือควรจะใส่แรงเพิ่ม หรือมีใด ๆ อื่น ๆ ซึ่งการฟังนี่ล่ะ จะช่วยให้ทั้งคุณและเธอ ได้กำหนดท่วงท่าและสเต็ปการเข้าทำเกมรุกบนสนามรักได้อย่างเข้าใจซึ่งกันและ กันมากขึ้น
จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า การที่สัมผัสร่างกายของฝ่ายสาวไปด้วยนั้น จะช่วยเติมเต็มฮอร์โมนทางเพศที่เรียกว่า "อ็อกซิโตซิน" (Oxytocin) เพื่อให้ร่างกายได้รู้สึกมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้คลายความเครียด คลายอาการเกร็ง หรือยับยั้งอาการหงุดหงิดต่าง ๆ ได้อย่างดีมาก ๆ เลยด้วย ฉะนั้น สัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกายฝ่ายสาวเข้าไว้ รับรองแฮปปี้ทั้งสองฝ่ายแน่นอน
คงจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว กับของทานหลากหลายอย่างที่มีคุณสมบัติชั้นเยี่ยม ซึ่งนอกจากจะให้ความอร่อยแล้ว ยังมีส่วนที่ช่วยเสริมให้เกิดความกระปรี้กระเปร่าและพร้อมลุยกับค่ำคืนสุด แสนพิเศษด้วย ทั้งนี้อาหารที่ช่วยเพิ่มพลังรักที่ว่านี้ก็มีมากมายหลากหลายอย่าง หอยนางรมสด กล้วยหอม ช็อคโกแลต ไข่ไก่ และอื่น ๆ อีกเพียบ ทั้งอร่อยและมากคุณสมบัติแบบนี้ ถ้าไม่ลองหาทาน คงจะเสียดายแย่
เพื่อให้เซ็กส์ของคุณดูมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เรื่องของการบริหารเวลาก็เป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงเหมือนกัน มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เพื่อให้เวลาของการมีเซ็กส์มีค่ามากขึ้น ลองให้คุณผู้ชายได้เร้าอารมณ์ฝ่ายหญิงให้ถึงขีดสุดเสียก่อน เพราะนั่นจะเป็นกระตุ้นให้ฮอร์โมนเพศของฝ่ายหญิงได้ทำปฏิกิริยากับร่างกาย มากขึ้น แถมยังทำให้ทั้งเธอและตัวคุณเองสนุกกับกิจกรรมบนเตียงได้มากขึ้นอีกต่างหาก
ถ้าคิดจะมีอะไรกันแล้ว อย่าได้เขินอายอะไรให้มากความ และยิ่งกับคนที่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากตรงไหน ยังไง ก็ลองเริ่มจากการไปอาบน้ำด้วยกัน ช่วยกันขัดตัวไปมา แล้วก็เริ่มต้นความรู้สึกอันเร่าร้อนจากในห้องน้ำเลยก็ได้ มองอีกแง่หนึ่ง ก็ถือเป็นการทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดเอี่ยมด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งเมื่อร่างกายสะอาดแล้ว ทีนี้ล่ะ ได้กอด ได้หอมกันอย่างสบายอารมณ์มาก ๆ เลยทีเดียว
จะมีเซ็กส์กันทั้งที ก็หาสถานที่ลับตาคนซะหน่อย จะมาโชว์เป็นเดี่ยวไมโครโฟนในที่สาธารณะก็ไม่ใช่เรื่อง ทั้งนี้ เมื่อได้สถานที่อันพอเหมาะพอเจาะแล้ว สร้างบรรยากาศให้มีความน่าสนใจขึ้นมาสักหน่อย ด้วยการเปิดไฟสลัว ๆ เข้าไว้ หรืออาจจะจุดกลิ่นหอม ๆ อย่างพวกอโรม่าทั้งหลายไว้ด้วยก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้มีบรรยากาศที่ผ่อนคลายได้อย่างดี ซึ่งเมื่อผ่อนคลายกันแล้ว ทีนี้จะทำอะไรร่วมกันต่อไป ก็เป็นเรื่องที่ง่ายนิดเดียว
เจาะลึกไปที่ท่วงท่าของการร่วมเพศกันสักหน่อย ไหน ๆ ก็พูดถึงเรื่องลับเฉพาะแบบนี้แล้ว ก็ขอแนะนำท่วงท่าที่เจ๋งเป้งซึ่งอ้างอิงจากการศึกษาของผุ้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คนให้รู้กันสักหน่อย เริ่มจากให้คุณนอนนิ่ง ๆ ผ่อนคลายเข้าไว้ จากนั้นให้ฝ่ายสาวด้านนั่งทับด้านบนของคุณ แล้วให้เธอหันหลังให้คุณด้วย ท่วงท่านี้จะตรงจุดยุทธศาสตร์ที่ว่าจะไปกระตุ้นจุด "จี-สปอต" ของเธอเข้าอย่างจัง และจะทำให้ฮอร์โมนของเธอพุ่งปี๊ดแบบไม่มียั้งเลยทีเดียวเชียว
ประเภทที่ว่า ต้องทำให้ได้ ต้องทำให้ฝ่ายสาวประทับใจกับค่ำคืนสุดแสนพิเศษนี้ให้ได้ เลิดคิดเถอะครับ เพราะความคิดแบบนั้นจะเป็นการกดดันตัวคุณเอง จนทำให้ความสนุกและอารมณ์ร่วมทางเพศ ลดดีกรีความแรงและหดหายไปในที่สุด ผ่อนคลายเข้าไว้ และสนุกกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่ต้องไปคาดหวังอะไรมากมาย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ จะเข้ากว่ากันเยอะเลย
เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่ทั้งคุณและฝ่ายสาวพร้อมแล้วสำหรับการเลี้ยงดูคนในครอบในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างครอบครัวให้อบอุ่นมากขึ้น ก็ลองมีเซ็กส์กันแบบไม่ต้องป้องกันอะไรมาก ถุงยางอนามัยก็ไม่ต้องใช้ และเมื่อถึงจุดไคลแม็กซ์ที่จะหลั่งน้ำอสุจิ ก็ปล่อยให้อสุจินับล้าน ๆ ตัวนั้นอยู่ภายในตัวของฝ่ายสาว วิธีการนี้จะส่งผลให้อสุจิตัวดีเข้าไปเจาะไข่ของคุณผู้หญิง แล้วก่อให้เกิดเป็นลูกตัวน้อยให้คุณ ๆ ได้เลี้ยงดุต่อไปในอนาคตนั่นเอง
จัดเต็มกับวิธีการทั้ง 10 ไปแล้ว ยังไงก็ลองนำไปปรับใช้กับการมีเซ็กส์ของคุณดู รับรองว่าถ้านำไปใช้แล้ว เพศสัมพันธ์ของคุณจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจและจะสร้างความสุขให้กับคุณและคนรัก ของคุณได้อย่างแน่นอนชัวร์ ๆ !!
13 เรื่องลับ ๆ ของสาว ๆ ที่คุณอาจยังไม่รู้
คุณ หนุ่ม ๆ ทุกท่านครับ คุณ ๆ เคยรู้กันบ้างหรือไม่ว่าสาว ๆ รอบ ๆ ตัวคุณไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรู้จัก หรือแม้กระทั่งแฟนของคุณนั่น มีความลับเกี่ยวกับเรื่องบนเตียงอะไรบ้างที่คุณยังไม่รู้ ความลับ ณ ที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเขามีกิ๊กหรือใด ๆ ทั้งนั้น แต่เป็นเรื่องของลักษณะนิสัยของความเป็นผู้หญิงที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ต่างหาก
ถ้าคุณว่าสาว ๆ ข้างกายคุณ มีเรื่องลับ ๆ บนเตียงแน่ ๆ แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเป็นเรื่องอะไรบ้าง ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะวันนี้เรามีความลับบนเตียงของสาว ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้นั้น มาฝากให้ได้ทราบกันแล้ว โดยเรื่องลับ ๆ ของสาว ๆ ที่ว่านั้น ก็มีทั้ง..
.
และ ทั้งหมดนี้ก็ 13 ความลับบนเตียงของคุณสาว ๆ ที่เรานำมาฝากให้คุณหนุ่ม ๆ ทุกท่านได้ทราบ ๆ กัน เพื่อที่คุณจะเข้าใจตัวตนของคุณสาว ๆ กันมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอบอกก่อนเลยว่า นี่เป็นเพียงความลับของสาว ๆ บางคนเท่านั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนบนโลกนี้แต่อย่างใด ฉะนั้น ขอให้อ่านไว้เพื่อความบันเทิงเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าเพิ่งไปเหมารวมซะก่อน จะดีกว่านะคุณหนุ่ม ๆ ทั้งหลาย..
โรคตับแข็ง เกือบตายเพราะเหล้า
เกือบตายเพราะเหล้า (หมอชาวบ้าน)
คอลัมน์ คุยกับหมอ 3 บาท
โดย นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์
ผู้ป่วยชายรายหนึ่งอายุ 46 ปี ภรรยาและลูกนำส่งโรงพยาบาลเนื่องจากเพ้อคลั่ง กินอาหารไม่ได้ อาเจียนมาก เป็นมา 2 วัน
"เป็นอะไรมาครับ" หมอถาม
"แกชอบดื่มแต่เหล้า สองวันนี้อาเจียนมาก เพ้อ เอะอะ โวยวาย ทานอะไรไม่ได้ค่ะ" ภรรยาตอบ
"มีไข้ไหมครับ"หมอซักต่อ
"เอ่อ... ก็ตัวเย็นนะคะ"
"มีโรคประจำตัวอะไรไหมครับ"
"เป็นความดันโลหิตสูง แล้วก็ขาบวมค่ะ"
"มียาที่กินประจำอะไรบ้างครับ เอาติดมาด้วยหรือเปล่า"
เมื่อหมอได้ดูยาแล้วก็แน่ใจว่าเป็นยาขับปัสสาวะที่นิยมใช้ กรณีที่มีอาการบวมร่วมกับความดันโลหิตสูง จากนั้นก็ตรวจร่างกายผู้ป่วย พบว่ามีภาวะคลุ้มคลั่งสับสน เนื่องจาก ตับแข็ง ขาดวิตามินบี 1 และเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ซึ่งอาจจะเกิดจากการหยุดดื่มเหล้ากะทันหัน
หลังจากรักษาแล้ว วันรุ่งขึ้นก็พูดรู้เรื่องและกลับบ้านได้ ในวันที่สาม หมอได้ให้คำแนะนำดังนี้
"คุณมี ตับแข็ง จากผลของเหล้า ซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวม แต่ถ้ากินยาขับปัสสาวะเพื่อลดบวมก็จะทำให้เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ อาจเกิดคลุ้มคลั่งสับสนได้อีก ดังนั้นต้องหยุดทำร้ายตับโดยการหยุดดื่มเหล้าและบำรุงร่างกาย แต่การที่คุณติดเหล้าจะหยุดกะทันหันไม่ได้ หมอจะให้ยากล่อมประสาทและยาควบคุมประสาทอัตโนมัติ จะช่วยไม่ให้เกิดความรู้สึกอยากดื่มจนทนไม่ไหว ลดอาการสั่นกระตุก และช่วยให้หลับได้ คาดว่าจะใช้ยาไป 1-2 สัปดาห์"
"แต่คุณจะต้องตั้งสัจจะเลยนะว่าจะไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตลอดไป จำไว้ว่าคุณจะอายุสั้นมาก หากตับคุณแข็งมากไปกว่านี้" หมอย้ำเรื่องสำคัญ
"แล้วผมจะอยู่ได้นานแค่ไหนครับ"
"ผม บอกไม่ได้ อาจจะเป็นเดือน เป็นปี หรือหลายๆ ปี ขึ้นอยู่กับว่าคุณปฏิบัติตัวดีแค่ไหน ที่สำคัญ "ต้องหยุดทำร้ายตับโดยการหยุดดื่มเหล้าและบำรุงร่างกาย" คือต้องหยุดดื่มเหล้าเพื่อไม่ให้ตับถูกทำร้ายมากขึ้น ตับของคุณอาจจะดีขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย แล้วต้องบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ควรงดพวกไขมันสัตว์ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ เพิ่มการพวกถั่วต่างๆ เต้าหู้ ธัญพืช ผักสด ผลไม้สด"
ผู้ป่วยก็รับฟังอย่างตั้งใจ แต่ตอนที่บอกให้เลิกเหล้านี่สิ ดูไม่ค่อยอยากจะรับปากเท่าไหร่
เมื่อพูดถึงอันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดูเหมือนว่าไม่ค่อยมีใคร กลัว เพราะผลร้ายไม่เกิดทันที แต่ผลที่ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกดีรู้สึกสนุกเห็นผลชัดกว่า นานๆ ดื่มทีไม่เป็นไร แต่หากดื่มเป็นประจำก็จะเกิด โรคตับแข็ง เบาหวาน สมองเสื่อม ความดันโลหิตสูง ไตพัง ขาดสติจนเกิดอุบัติเหตุ บางคนไม่ต้องรอให้ตับแข็งก็ตายจากไข้โป้งไปก่อนแล้ว เพราะไปทำความรำคาญให้ชาวบ้านเขา
หลายคนคงเคยได้เห็นหรือได้ยินการประชาสัมพันธ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อรณรงค์ลดการดื่มเหล้า โดยมีการโฆษณาทั้งในโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ ที่ว่า "ให้เหล้า=แช่ง" ซึ่งตอนนี้เริ่มจะอยู่ในความรู้สึกของคนไทยแล้ว หลายๆ คนชักไม่กล้าที่จะให้ของขวัญกันด้วยเหล้า เพราะกลัวคนรับจะคิดมาก เลยเลี่ยงไปให้อย่างอื่นดีกว่า ถือว่าการรณรงค์นี้ได้ผลดีทีเดียว
แต่ก็อยากให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อตอกย้ำอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยอาจจะเน้นที่อันตรายของเหล้าและทำให้ดูน่ากลัวยิ่งขึ้น
แล้วเป้าหมายของรัฐที่อยากให้คนไทยดื่มเหล้ากันน้อยลงก็จะเป็นจริงได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก morseng
No comments:
Post a Comment