Sunday, July 24, 2011

โรคตับอักเสบ ສົນໃຈຜະລິດຕະພັນ ໝໍເສັງ ຈັດສົ່ງທົ່ວປະເທດ WWW.morsenglao.blogspot.com ໂທ:020 56999579; 77555579 Kham Phat

ตับ เป็น อวัยวะที่สำคัญมาก มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การสร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน เก็บสำรองอาหาร โดยการเก็บ glucose ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในรูปของ glucogen และเมื่อร่างกายต้องการใช้ ก็จะทำการเปลี่ยน glucogen มาเป็น glucose ตับเป็นแหล่งสะสมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ดี และบี12 และยังทำหน้าที่ขจัดสารพิษที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
ตับยังทำหน้าที่สร้าง วิตามินเอ จากสารแคโรทีน ซึ่งมีสะสมอยู่ในพวกแครอทและมะละกอ สร้างธาตุเหล็ก ทองแดง และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กินและทำลายเชื้อโรค และเป็นแหล่งให้พลังงานความร้อนแก่ร่างกาย
จะเห็นได้ว่าตับทำหน้าที่สำคัญมากมายให้แก่ร่างกายเรา ฉะนั้นหากเซลล์ตับถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไป ก็จะมีผลเสียแก่สุขภาพของเรา เราจึงควรหมั่นตรวจสอบสมรรถภาพของตับอย่างสม่ำเสมอ
การ ทดสอบสมรรถภาพของตับ ทำได้โดยทดสอบทางห้องชันสูตร แตผลการทดสอบไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ตับปกติดีร้อยเปอร์เซนต์ หรือเสื่อมสภาพไป แต่การทดสอบสามารถบ่งชี้ถึงความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีประโยชน์ในการแยกประเภทของโรค การติดตามการดำเนินของโรค และการติดตามผลการรักษาโรค
โรคตับอักเสบ หมายถึง โรคที่เซลล์ของตับมีการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้สารพิษ หรือการติดเชื้อจุลชีพ หรือติดเชื้อไวรัส ปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ติดเชื้อจากไวรัส ตับจะบวมโต ผู่ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นบริเวณตับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย บางรายมีไข้ต่ำๆ คลื่นใส้ และอาเจียน บางรายตัวเหลื่อง ตาเหลือง
โรคตับอักเสบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง อาการของผู่ป่วยจะคล้ายคลึงกัน ต้องอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูอาการของตับ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงตัวเชื้อต้นเหตุ และเป็นแนวทางในการดูแลป้องกันและรักษาผู้ป่วย
โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสต่างชนิดกัน จะมีความรุนแรงและการรักษาต่างกันไปที่พบบ่อยเกิดจากเชื้อ
สาเหตุของตับอักเสบ อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1.       จากเชื้อโรค ซึ่งมีไวรัสเป็นหลัก
2.       จากการดื่มสุรา
3.       จากยาหรือสารพิษ มียามากมายเป็นร้อยๆ ตัว รวมทั้งสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการตับอักเสบ
4.       จากการติดเชื้อ เช่น ไข้ไทฟอยด์บางราย เลปโตสไปโรซิส มาลาเรีย
โรคตับอักเสบจากไวรัส เป็นสาเหตุของตับอักเสบ ในขณะนี้มีมากกว่า 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A – E และที่เพิ่มนอกเหนือจาก 5 ชนิด เช่น G, GB, F แต่ที่เราทราบพฤติกรรมของมันแน่ๆ จะมีเพียง 5 ชนิด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
ไวรัสตับอักเสบ A
ไวรัสตัวนี้พบในมนุษย์เท่านั้น เชื้อจะเริ่มกระจายจากในตุ่มน้ำตามผิวหนัง ชนิดนี้มีความรุนแรงน้อยที่สุดแต่พบบ่อยมาก มักจะมีการระบาดในกลุ่มของคนที่อยู่รวมกันมาก ๆ การติดต่อของไวรัสชนิดนี้จะติดต่อกันโดยทางอาหารหรือน้ำดื่มเท่านั้น เชื้อจะมีปนเปื้อนออกมา กับอุจจาระและปัสสาวะ คนที่เป็นแม่ครัวหรือพ่อครัว หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรุงอาหาร มีโอกาสจะทำให้เชื้อปนเปื้อนลงสู่อาหารและน้ำดื่ม นอกจากนั้น ก็มีรายงานในนม อาหารทะเล เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นแล้วจะหายเป็นปกติแทบทุกคน และไม่สามารถเป็นพาหะของเชื้อต่อไปอีกได้ ร่างกายมักจะกำจัดเชื้อได้หมด บางรายอาจจะมีอาการเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึก และหลังจากนั้นแล้ว มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคตลอดไป
ไวรัสตับอักเสบ B
เจ้าตัวนี้เราต้องป้องกันได้ยากที่สุด และนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันใหญ่มากอันหนึ่ง ของประเทศไทยและทั่วโลก ไวรัสตับอักเสบ B มีทางติดต่อที่สำคัญคือ เพศสัมพันธ์ และสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกตั้งแต่ในครรภ์ ส่วนการรับเลือดนั้น ในปัจจุบันจะมีการตรวจกรองก่อนให้คนไข้ ว่าเลือดที่ได้จะปราศจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ B คนที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ B นั้น อาจจะมาจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบและหายแล้วไม่มีอาการแต่ไม่สามารกำจัด เชื้อได้หมด หรือได้รับเชื้อไปแล้วแต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยแล้วยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายตลอดไป มักจะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ตลอดชีวิต และอาจจะเปลี่ยนไปเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง หรือมีปัจจัยเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งตับได้มากขึ้น ในประเทศไทยพบราว 7-10% ของประชากร ทำให้อัตราตายของโรคมะเร็งตับ ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอัตราตายจากโรคมะเร็งทั้งหลายมาตลอด ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุการฉีดวัคซีนสำหรับตับอักเสบ B ให้เป็นวัคซีนพื้นฐานจำเป็นที่เด็กไทยทุกคนจะได้รับเช่นเดียวกับโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ B จึงมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในประชากรยุคต่อไป
ไวรัสตับอักเสบ C
ติดต่อกันได้ทางหลักคือ ทางเลือด การแพร่เชื้อส่วนใหญ่ คือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้ติดยาเสพติดโดยวิธีฉีด ส่วนการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์นั้นพบได้น้อย ที่เหลือจะมีบ้างเช่นการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งนานๆ จะพบสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันเราจะตรวจกรองผู้ที่บริจาคอวัยวะทุกรายเช่นกัน ว่าปลอดจากไวรัสตับอักเสบ C ไวรัสตับอักเสบ C นั้นทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน เรื้อรัง และมีโอกาสก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับได้ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ B
ไวรัสตับอักเสบ D
ไวรัสตับอักเสบ D นั้นไม่ได้เป็นตัวเดียวเดี่ยว ๆ มันจะต้องมีเปลือกหุ้มตัวของมันเป็นเปลือกของไวรัสตับอักเสบ B ดังนั้นตัวมันเองจึงทำอะไรไม่ได้ จำเป็นต้องมีไวรัสตับอักเสบ B อยู่ร่วมด้วยจึงจะก่อให้เกิดโรค
ไวรัสตับอักเสบ E
การติดต่อ มักจะติดต่อทางน้ำและอาหาร แต่มีความรุนแรงมากกว่าไวรัสตับอักเสบ A และทำให้เป็นตับอักเสบรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ B ตัวนี้มักจะพบการระบาดเป็นพักๆ คือในประเทศที่เรื่องการสาธารณสุขค่อนข้างแย่หน่อย มีความแออัดในชุมชนสูง อาหารและน้ำไม่ค่อยสะอาด
อาการของโรค
หลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ระยะแรกยังไม่มีอาการ ต้องมีระยะฟักตัวที่เชื้อจะเจริญเติบโต แพร่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีจำนวนมากพอที่จะก่อให้เกิดโรคได้ ระยะฟักตัวคือ ระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อ จนเกิดอาการของโรค ในเชื้อไวรัสแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป
  • ไวรัสตับอักเสบ A มีระยะประมาณ 15-45 วัน เฉลี่ย 30 วัน
  • ไวรัสตับอักเสบ B มีระยะประมาณ 30-180 วัน เฉลี่ย 60-90 วัน
  • ไวรัสตับอักเสบ C มีระยะประมาณ 15-100 วัน เฉลี่ย 50 วัน
 
          อาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
มีอาการแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้
1. ระยะอาการนำ  มีอาการกอ่อนเพลียมีไข้ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีอาการคล้าย ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหารมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจปวดท้องบริเวณชายโครงขวา มีท้องเสียได้ ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ ฯลฯ อาการนำเป็นอยู่นาน 4 - 5 วัน จนถึง 1 - 2 สัปดาห์
2. ระยะอาการเหลือง “ดีซ่าน” ผู้ป่วยมีตาเหลือง ตัวเหลือง อาการทั่วไปดีขึ้น แต่ยังอ่อนเพลียคล้ายหมดแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือชายโครงขวาเนื่องจากตับโตบวมขึ้นผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสพบว่ามีอาการ ดีซ่านเพียงครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า
3. ระยะฟื้นตัว อาจยังอ่อนเพลียอยู่ อาการข้างต้นหายไป หายเหลืองโดยทั่วไป ระยะเวลาของการป่วยนาน 2 - 4 สัปดาห์ จนถึง 8 - 12 สัปดาห์
มีอีกกลุ่มหนึ่งที่จะเปลี่ยนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการทั้งหลายอาจจะหายไปหมดแล้ว หรือคงเหลือตัวเหลือง ตาเหลืองเพียงเล็กน้อย แต่ตรวจเลือดจะพบว่า ความผิดปกติของเอนไซม์ยังไม่หายไป คงอยู่นานเกินกว่า 3 สัปดาห์ เราจะเรียกว่าตับอักเสบเรื้อรัง มักจะพบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ราว 1-2% ของคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนไวรัสตับอักเสบ A ไม่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง และไวรัสตับอักเสบ C จะทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังได้เช่นกัน
ประมาณ10%ของคนไข้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบBจะเป็นพาหะแพร่เชื้อต่อไปได้ตลอดชีวิต
การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส
ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาการอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาการไขมันสูงในระยะที่มีคลื่นไส้ อาเจียนมาก ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำ                ให้ยาแก้คลื่นไส้   ยาวิตามินฯลฯ
สำหรับโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ได้แก่
          1. ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ในระยะที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ให้นอนพักบนเตียงจนกว่าจะหายเพลีย เมื่อรู้สึกว่าแข็งแรงแล้วจึงค่อยลุกจากเตียง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นการออกกำลังกายต้องค่อย ๆ เริ่มทีละน้อย ๆ ควรให้อาหารบำรุงร่างกาย แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรงดอาหารนั้น และควรงดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ               เช่น         สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด(จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ,2542)
        2.ให้กินอาหารที่ได้แคลอรีมากๆโดยเฉพาะพวกโปรตีนต้องกินให้มากและลดอาหารพวกไขมันลง
 การป้องการทำได้โดย
          1. ตรวจเลือดเพื่อทดสอบดูว่า เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยได้รับมีภูมิต้านทานหรือเป็นพาหะของโรค
          2. ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบก่อนที่จะได้รับเชื้อ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันน้องบีสุดน่ารักได้อย่างชะงัด (ประมาณเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว) แต่ก่อนฉีดคุณหมอก็คงจะต้องขอตรวจเลือดคุณก่อนว่าคุณมีภูมิคุ้มกัน (หรือคุ้มดีคุ้มร้ายหรือเปล่า) หรือยัง หรือคุณเป็นพาหะหรือเปล่า ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้วก็คงมีวิธีจัดการต่างๆกันไปตามแต่ละบุคคล
ສົນໃຈຜະລິດຕະພັນ ໝໍເສັງ ຈັດສົ່ງທົ່ວປະເທດ  WWW.morsenglao.blogspot.com
ໂທ:020 56999579; 77555579
Kham Phat
   

No comments:

Post a Comment